ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ในอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ระดับอุดมศึกษา; University Lecturers of Faculty of Science's Understanding of Nature of Science

Main Article Content

นันทวุฒิ นิยมวงษ์ Nanthavut Niyomvong

Abstract

บทคัดย่อ

                งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงกรณีศึกษา (case study) ในอาจารย์ผู้สอนจำนวน 3 ท่านจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง ซึ่งรับผิดชอบสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม (STSL) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของอาจารย์ผู้สอน 2) สำรวจสภาพธรรมชาติของการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ว่ามีการบูรณาการธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ลงไประหว่างจัดการเรียนการสอนหรือไม่ อย่างไร งานวิจัยนี้ยึดกรอบวิจัยเกี่ยวกับแง่มุมธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของ Lederman ทั้งหกแง่มุม ได้แก่   1. การสังเกตและการลงความเห็น   2. การเปลี่ยนแปลงของทฤษฎี  3. กฎและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์  4. อิทธิพลของสังคมต่อวิทยาศาสตร์ 5. วิทยาศาสตร์
กับจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  6. กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ ผู้วิจัยใช้แบบวัดมาตรฐานความเข้าใจวิทยาศาสตร์และการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน (Student Understanding of Science and Scientific Inquiry : SUSSI) เพื่อวัดความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ใช้การสังเกตการสอนในคาบเรียน การสัมภาษณ์เชิงลึก การศึกษาสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งวิเคราะห์แผนการสอน เพื่อศึกษาการ
บูรณาการธรรมชาติวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (content analysis) ภายใต้ทฤษฎีการตีความ เพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในสภาพจริง

                ผลการศึกษาพบว่าอาจารย์ผู้สอนในคณะวิทยาศาสตร์ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ในแง่ของ   1. กฎและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์   2. อิทธิพลของสังคมต่อวิทยาศาสตร์ และ 3. วิทยาศาสตร์กับจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ยังพบว่าส่วนใหญ่มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ยึดเนื้อหาวิชาและผู้สอนเป็นศูนย์กลาง (content-driven and teacher-centered) และใช้คำถามนำระหว่างการจัดการเรียนรู้เป็นหลักโดยไม่พบการสะท้อนธรรมชาติวิทยาศาสตร์ออกมาอย่างชัดเจนระหว่างการสอน 

Abstract

                This study was a case study conducted at a state university aiming to 1) probe the understanding of the nature of science (NOS) of the lecturers (N=3) of Faculty of Science who had been teaching Science and Technology for Social and Life (STSL) and 2) examine whether and how NOS was addressed and integrated into teaching. The Lederman’s six aspects of NOS were focused: 1) observations and inferences, 2) change of scientific theories, 3) scientific laws vs. theories, 4) social and cultural influence on science, 5) imagination and creativity in scientific investigations, and 6) methodology of scientific investigation. The lecturers took Standardized Science and Scientific Inquiry (SUSSI) questionnaire, an instrument to assess understanding of NOS and were in-depth interviewed about their teaching practice regarding NOS instruction. Content analysis was employed to discern their understanding and teaching practice of nature of science.

                The results indicated that the lecturers had inadequate understanding of the nature of science in the aspects of scientific laws vs. theories, imagination and creativity in scientific investigations, and social and cultural influence on science. The results indicated that most of the instructors were usually content-driven and teacher-centered although they sometimes asked the students questions and allowed open discussion at the beginning and during a session. They rarely addressed and had their students reflected their understanding of NOS. 

 

Article Details

How to Cite
Nanthavut Niyomvong น. . น. (2015). ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ในอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ระดับอุดมศึกษา; University Lecturers of Faculty of Science’s Understanding of Nature of Science. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 10(28), 113–126. https://doi.org/10.14456/jssra.2015.8
Section
Dissertations