ความคิดเชิงสร้างสรรค์และความรับผิดชอบในงานที่พยากรณ์ผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานบริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์; Creative Thinking and Job Responsibility as a Tool for Predicting Job Performance of Employees in Logistics Service Companies

Main Article Content

ลูกน้ำ บุญชัย Luknam Bunchai

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ระดับความคิดเชิงสร้างสรรค์และระดับความรับผิดชอบในงาน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเชิงสร้างสรรค์กับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบในงานกับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน 4) เพื่อพยากรณ์ผลการปฏิบัติงานของพนักงานด้วยความคิดเชิงสร้างสรรค์และความรับผิดชอบในงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ พนักงานบริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ จำนวน 326 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเป็นแบบสอบถามพนักงานบริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

                ผลการวิจัยปรากฎดังนี้

                1.  ผลการปฏิบัติงานของพนักงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก ความคิดเชิงสร้างสรรค์โดยรวม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับน้อยที่สุดและความรับผิดชอบในงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก

                2.  ความคิดเชิงสร้างสรรค์โดยรวม ไม่สัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงาน

                3.  ความรับผิดชอบในงานโดยรวม สัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                4.  ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ด้านความคิดริเริ่ม ความรับผิดชอบในงาน ด้านความรับผิดชอบต่อตนเองและด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม สามารถร่วมพยากรณ์ผลการปฏิบัติงานของพนักงานได้
ร้อยละ 57.20

สมการทำนายผลการปฏิบัติงานในรูปคะแนนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฎดังนี้

สมการทำนายในรูปคะแนนดิบ = y / = .910 + .592 X1 + .134 X2 + .013 X3

สมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน (Z-Score) = Z / = .651 Z1 + .170 Z2 + .087 Z3

Abstract

                This research is a correlational research. The objectives of this research are 1) to study the levels of job performance of employees, creative thinking and responsibility for the job responsibility, 2) to study the relationship between creative thinking and job performance of employees, 3) to study the relationship between responsibility for the job responsibility and job performance of employees and 4) to predict of job performance of employees with creative thinking and job responsibility of employees. The sample group was 326 employees from logistics service companies. The instruments for gathering data were questionnaires. The statistics employed for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.

                The results are listed as follows:

                1.  The levels of job performance of employees were at a high level. The level of creative thinking was at a low level and responsibility for the job was at a high level.

                2.  There was no relationship between overall creative thinking and job performance of employees.

                3.  There was a relationship between overall responsibility for the job and job performance of employees with a statistical significance level of .01.

                4.  Creative thinking in the facet of originality, and responsibility for the job in two facets of self - responsibility and social responsibility were able to predict job performance of employees by 57.20 percent.

    Equations for prediction the performance with standard scores as following.

    Equation to predict raw score  y / = .910 + .592 X1 + .134 X2 + .013 X3.

  Prediction equation in standard score (Z-Score) Z/ = .651 Z1 + .170 Z2 + .087 Z3.

Article Details

How to Cite
Luknam Bunchai ล. . บ. (2015). ความคิดเชิงสร้างสรรค์และความรับผิดชอบในงานที่พยากรณ์ผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานบริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์; Creative Thinking and Job Responsibility as a Tool for Predicting Job Performance of Employees in Logistics Service Companies. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 10(28), 143–158. https://doi.org/10.14456/jssra.2015.10
Section
Dissertations