การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทักษะแบบผสมผสานโดยเน้นการเรียนรู้ในสถานการณ์จริงเพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานสำหรับนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ; The Development of a Blended Model for Practical Learning

Main Article Content

อิทธิณัฐ ตันติวิทิตพงศ์ Ithinath Tantivitittapong

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทักษะแบบผสมผสานโดยเน้น                    การเรียนรู้ในสถานการณ์จริง เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน ศึกษาทักษะปฏิบัติ และทักษะการทำงานของนักศึกษาที่ได้จากการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะแบบผสมผสานโดยเน้นการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการผลิตรายการโทรทัศน์ใต้น้ำ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติพื้นฐานได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ()  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ สถิติ Non-Parametric Statistics ของวิลคอกซัน (Wilcoxon Matching Pairs Signed-Ranks Test)

                ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทักษะแบบผสมผสานโดยเน้นการเรียนรู้                      ในสถานการณ์จริง ผลการประเมินรับรองรูปแบบมีความเหมาะสมเท่ากับ 4.88 (S.D.=0.34) อยู่ในระดับดีมาก องค์ประกอบของรูปแบบประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการสอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการก่อนสอนทักษะ ขั้นนำเสนอความรู้เพื่อพัฒนาทักษะ ขั้นฝึกทักษะจนเกิดความชำนาญ ขั้นนำไปใช้ในสถานการณ์จริง และขั้นประเมินผล 2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การเรียนแบบเผชิญหน้า การเรียนบนเครือข่าย และการเรียนรู้  ในสถานการณ์จริง 3) ผลที่เกิดขึ้น ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะปฏิบัติ ทักษะการทำงาน (ทำงานเป็นทีมและความรับผิดชอบ) จากการศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียน การสอนทักษะแบบผสมผสานโดยเน้นการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง พบว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินทักษะปฏิบัติของนักศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และทักษะการทำงานโดยแบ่งเป็นผลการประเมินทักษะการทำงานเป็นทีมจากผู้สอน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 (S.D.=0.69) จากผู้ประกอบการในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 (S.D.=0.74) และจากผู้เรียนประเมินตนเองในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 (S.D.=0.74) ซึ่งอยู่ในระดับดี และผลการประเมินทักษะความรับผิดชอบจากผู้สอน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 (S.D.=0.84) จากผู้ประกอบการในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 (S.D.=0.66) และจากผู้เรียนประเมินตนเองในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 (S.D.=0.91)  ซึ่งอยู่ในระดับดี 

Abstract

The purposes of this study are development of a blended model for practical learning emphasizing in authentic situation, comparison the achievement of student before and after learning and study of practical skills of students who learned with a blended model for practical learning emphasizing in authentic situation. The 15 samples were selected from 3rd year undergraduate students in the major of television and radio broadcasting technology program of Rajamangala University of Technology Krungthep, who registered the course Under Water Television Production of the 1stsemester of academic year 2014. The data was analyzed by using the average percentage, mean (x), standard deviation (S.D.) and Non- Parametric Statistics of Wilcoxon Matching Pairs Signed- Ranks Test.

The finding indicate that the assessment for the accreditation of the development of a blended model for practical learning emphasizing in authentic situation was in the very good ranking (4.88, S.D.=0.34), by this model consisted of  the process of teaching, including the preparation phase before teaching skills, phase II the present knowledge to develop their skills, phase III the overt response skills and the autonomous, phase IV applied in Authentic situations  and phase V evaluation.  The model of teaching and learning include face to face learning, online learning and authentic learning. And the result the achievement, practical skills and working skills (teamwork and responsibility). From the learning achievement with a blended model for practical learning emphasizing in authentic situation found that after they learned with this model the learning achievement was higher than before with the statistically significant at 0.5 level. The result from practical skill was in a good ranking by 60 percent of all sample.  And the results of working skill derive from a blended model for practical learning emphasizing in authentic situation by assessing the teamwork skills from their teacher was totally average 4.25 (S.D.=0.69), the overview assessment from the entrepreneur was totally average at 4.27 (S.D.=0.74) and from the students’ self-assessment were totally average at 4.20 (S.D.=0.74) with a good ranking. The assessment for the responsible skill was assessed from their teacher was totally average at 3.76 (S.D.= 0.84), the overview assessment from the entrepreneur was totally average at 3.81 (S.D.=0.66) and lastly from the students’ self-assessment were totally average at 4.11 (S.D.=0.91) with a good ranking.

Article Details

Section
Dissertations