การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น; The Problem-based Scientific Learning Management Model Development for Secondary Students

Main Article Content

ยุพิน มงคลไทร Yupin Mongkholsai

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา  2  ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น แหล่งข้อมูลคือ ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบจำนวน 5  คน  ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบการแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนวัดบางแก้ว(บางแก้วพิทยาคม) สำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 จำนวน 15  คนได้จากการเลือกสุ่มแบบกลุ่มเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลังเครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 12 แผน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test)

                ผลการวิจัยพบว่า

                1.  รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีองค์ประกอบสำคัญคือ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. กระบวนการของรูปแบบ มี 6 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นระบุปัญหา ขั้นวางแผน ขั้นแสวงหาสารสนเทศ/รวบรวมข้อมูล ขั้นสร้างองค์ความรู้ ขั้นสื่อสารความรู้ ขั้นเรียนรู้สู่สังคม และ4. การประเมินผล  รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบแก้ปัญหามีคุณภาพด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.36)

                2.  นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบการแก้ปัญหามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

                The purpose of this research was to develop a problem-based scientific learning management model for secondary students. The procedure was undertaken in 2 steps. Step 1 constructing model to the problem-based scientific learning management model. The data concerning the model quality were checked by 5 evaluation connoisseurs. Step 2 studying the trial results of the model. The research samples used were 15 Matthayomsuksa 3 secondary students of Wat Bangkaeo Phitthayakom school, under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2 in the second semester of academic year 2014 selected by cluster random sampling. The data were collected by using the experimental research plan of One Group Pretest-Posttest Design Method. The research tools consisted of the twelve scientific learning plans of the problem-based scientific learning management model, the scientific learning achievement measurement form and the scientific problem solving ability measurement form. The data was analyzed by t-test dependent.

                The research results were as follows:

                1.  The four main components of the problem-based scientific learning management model for secondary students were 1) the principle; 2) the objectives; 3) the process with 6 steps, namely identifying the problems, planning, data gathering, knowledge building, knowledge communicating, knowledge transferring to society; and 4) evaluation. The problem-based scientific learning management model was appropriate at a high level (with the average suitability index of  4.36).

                2.  The secondary students being experienced by using the problem-based scientific learning management model had learning achievement higher than before learning at the .05 level of significance. 

Article Details

Section
Dissertations
Author Biography

ยุพิน มงคลไทร Yupin Mongkholsai, Nakhon Sawan Rajabhat University

Thailand Cltation Index Center