การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยเน้นคุณลักษณะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา; The Development of a Blended Learning Model Emphasizing on Information and Communication Technology Literacy Characteristic for Undergraduat

Main Article Content

ธนกร ขันทเขตต์ Thanakorn Khanthakhet

Abstract

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยเน้นคุณลักษณะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา และศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยเน้นคุณลักษณะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยเน้นคุณลักษณะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา ได้ผ่านการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน สร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้สูตร E1/E2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาการจัดการภูมิสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 20 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า t-test แบบ dependent sample   ผลการวิจัยพบว่า 

                1. รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยเน้นคุณลักษณะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา มีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็น 2) การกำหนดยุทธศาสตร์การเรียนรู้ 3) การออกแบบและพัฒนาการเรียนรู้แบบผสมผสาน 4) การดำเนินการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 5) การประเมินผลการจัดการเรียนรู้  รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีค่าเฉลี่ยคุณภาพโดยรวมเท่ากับ 4.52 (S.D.=0.48) อยู่ในระดับดีมาก และมีค่าประสิทธิภาพบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่ากับ 81.22/82.78 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

            2.  นิสิตที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยเน้นคุณลักษณะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้  มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.62 (S.D.=0.49)

Abstract

              The purposes of this study are to development of a blended learning model emphasizing on information and communication technology literacy characteristic for undergraduate students in higher education, to compare the achievement of student before and after learning and to evaluate the opinion of students who learned with a blended learning model emphasizing on information and communication technology literacy characteristic for undergraduate students in higher education. The 20 samples were selected from 3rd year undergraduate students in the major of Socio-geographic management program of Srinakharinwirot University who registered the Social communication course of the 1st semester of academic year 2014. The data was analyzed by using the average percentage, mean  (), standard deviation (S.D.) and t-test dependent sample.

              The finding indicate that the assessment for the accreditation of the development of a blended model emphasizing on information and communication technology literacy characteristic for undergraduate students in higher education was in the very good ranking (4.52, S.D.=0.48), by this model consisted of  the process of need analysis, the learning strategy design,the blended learning design, the blended learning implementation and evaluation. The learning achievement with a blended learning model found that after they learned with this model the learning achievement was higher than before with the statistically significant at 0.5 level. The results of opinion of student who learned with blended learning model was a very good ranking (4.62 S.D.=0.49).

Article Details

How to Cite
Thanakorn Khanthakhet ธ. . ข. (2015). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยเน้นคุณลักษณะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา; The Development of a Blended Learning Model Emphasizing on Information and Communication Technology Literacy Characteristic for Undergraduat. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 10(29(1), 43–58. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/44887
Section
Research Articles