ศึกษา วิเคราะห์ องค์ความรู้และกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน “กลุ่มตะวัน"; Cognitive and Creative Processes: Development Analysis of the Artist "Tawan"

Main Article Content

ภาคภูมิ พรหมชา Phakphum Promcha

Abstract

บทคัดย่อ

              การวิจัยฉบับนี้ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เข้าใจในแนวคิดและกลวิธีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีต่อบริบทของสังคมไทย เพื่อนำไม่สู่การพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้เป็นระบบ แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของศิลปิน พร้อมกับวิเคราะห์ผลงานจิตรกรรมที่สะท้อนถึงแนวความคิดของศิลปิน “กลุ่มตะวัน”

              ผลจากการศึกษาผลงานจิตรกรรมของศิลปิน “กลุ่มตะวัน” พบว่าที่มาของแนวคิดในผลงานของศิลปิน “กลุ่มตะวัน” ผู้วิจัยแบ่งลักษณะเด่นของผลงานออกได้เป็นดังนี้ คือผลงานที่ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสัจธรรม ศาสนา ผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความจงรักภักดี  เคารพ  ศรัทธา ในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการต้องการที่จะบันทึกเหตุการณ์ทางการเมืองของประเทศและผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการประทับใจในวิถีชีวิตของชาวบ้าน ชุมชน

              สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านศิลปะต่อชั้นเรียนผู้วิจัยพบลักษณะเด่นของกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางศิลปะต่อชั้นเรียนดังนี้ การถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อชั้นเรียนทางด้านการจัดวางองค์ประกอบของภาพที่จะเขียนให้ออกมามีเอกภาพ การถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อชั้นเรียนทางด้านทักษะการเขียนภาพเหมือนจริงที่เป็นพื้นฐานของการเรียนศิลปะการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อชั้นเรียนทางด้านการใช้สัญลักษณ์แทนค่าของพื้นที่สังคมนั้น ๆ การถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อชั้นเรียนทางด้านสถาปัตยกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อชั้นเรียนทางด้านการบันทึกเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น ๆ การถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อชั้นเรียนทางด้านการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพในการสร้างสรรค์ผลงาน   การถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อชั้นเรียนทางด้านการนำสิ่งไม่มีค่าในสังคมมาจัดวางให้เกิดคุณค่าในสายตาของศิลปิน การถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อชั้นเรียนทางด้านการรักษาเวลาในการเขียนภาพและการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อชั้นเรียนทางด้านแนวคิดของศิลปิน สามารถปรับเปลี่ยนวิธีคิดไปตามสภาพแวดล้อม  สังคมที่พบเจออยู่ ณ ช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต

Abstract

              The objectives of this research were to attain the understanding in the concept and method of the creation of an art work in Thai contexts, which leads to the development of the systematic process of art creation that reflects the artist’s identities, and to analyze the concepts of the ‘Tawan’ Artist Group that were reflected through their art works.

              The findings from the study on the paintings by ‘Tawan’ Artist Group revealed that the works by the artists can be divided by their main concepts as follows: the works inspired by the nature and environment, those inspired by religion and religious concepts, those inspired by loyalty and faith in His Majesty the King of Thailand, those inspired by the need to record political events of the country, and those inspired by the impression in local people’s way of life.

              As for the dissemination of art-related knowledge to the class, the discovered dissemination of knowledge concerns the following matters. The first matter was the dissemination of knowledge about the arrangement of compositions in a painting in order that all the compositions will be harmonized together, followed by the dissemination of the portrait technique which was a fundamental technique of art study, the dissemination of knowledge of the use of symbols to reflect the values of spaces in the society, the dissemination of knowledge of architecture, the dissemination of technique of recording important events in the contemporary periods, the dissemination of technique of selecting quality materials to create art works, the dissemination of technique of arranging invaluable things to create art works, the dissemination of technique of creating art works within a time limit, and the dissemination of the knowledge about artists’ concepts that can be changed in accordance with environs and society in different phases of the artists’ lifetimes

Article Details

How to Cite
Phakphum Promcha ภ. . พ. (2015). ศึกษา วิเคราะห์ องค์ความรู้และกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน “กลุ่มตะวัน"; Cognitive and Creative Processes: Development Analysis of the Artist "Tawan". SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 10(29(2), 109–122. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/44987
Section
Research Articles