กลยุทธ์การบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดตาก; The Management of the Annual Operational Planning Strategies for Basic Educational Commission Schools under Tak Primary Educational Ser

Main Article Content

ธนู นวลเป้า Thanu Nounpao

Abstract

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพ ปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปี 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปี 3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปี ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดตากดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปี ได้แก่ 1.1 เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 344 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.2 สนทนากลุ่ม ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 20 คนวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาขั้นตอนที่2 พัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปี ได้แก่ 2.1 ศึกษากลยุทธ์การบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปี จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2.2.1 ศึกษากลยุทธ์การบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา ที่ประสบผลสำเร็จโดยการวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และ 2.2.2 ศึกษากลยุทธ์การบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จ โดยการสัมภาษณ์ จำนวน12คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2.3.1 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของการบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปี โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน16คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2.3.2 ยกร่างกลยุทธ์การบริหารจัดการ แผนปฏิบัติการประจำปี ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 16 คนโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2.4 ตรวจสอบร่างกลยุทธ์การบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปีผู้ให้ข้อมูล จำนวน9คนวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 ประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปี ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามความสอดคล้องความเหมาะสมความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและประเมินโดยเทียบกับเกณฑ์

              ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดตาก พบว่าสถานศึกษาส่วนใหญ่ดำเนินการทุกด้านทั้งการวางแผน การปฏิบัติตามแผนการตรวจสอบ และการปรับปรุงโดยส่วนมากที่สุด มีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปี รองลงมาคือ มีการเตรียมการกำกับ ติดตามและประเมินผล การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีและส่วนน้อยที่สุด มีการดำเนินการเผยแพร่ผลการตรวจสอบและประเมินผลแผนปฏิบัติการประจำปีปัญหาการบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดตากโดยภาพรวมและทุกด้าน ทั้งการวางแผน การปฏิบัติตามแผนการตรวจสอบ และการปรับปรุงอยู่ในระดับน้อยซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่าด้านอื่น คือด้านการวางแผนรองลงมาได้แก่ ด้านการตรวจสอบและด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าด้านอื่น คือ ด้านการปรับปรุงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดตากโดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก และรายด้าน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีเพียงด้านเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่าด้านอื่น คือ ด้านผู้บริหาร รองลงมาได้แก่ด้านการบริหารจัดการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าด้านอื่น คือด้านเศรษฐกิจ 2. กลยุทธ์การบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดตาก มี 12 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) พัฒนาสมรรถนะในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2) เสริมสร้างระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 3) พัฒนาระบบการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีให้มีคุณภาพ  4)เสริมสร้างระบบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายที่มุ่งเน้นผลงานในแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ 5) ส่งเสริมการบริหารงบประมาณของแผนปฏิบัติการประจำปีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 6) ยกระดับการทำงานเป็นทีมและการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีโดยใช้วงจรคุณภาพ 7) ส่งเสริมการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีแบบบูรณาการ 8) เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารโครงการในแผนปฏิบัติการประจำปีให้ตอบสนองแผนกลยุทธ์ 9) พัฒนาระบบและกลไกการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีกลยุทธ์ที่ 10) เสริมสร้างประสิทธิภาพการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการและกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการประจำปี 11) พัฒนาคุณภาพปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำผลการกำกับติดตามและนำผลประเมินมาปรับปรุงแผนปฏิบัติการประจำปี 12) ปรับปรุงแผนปฏิบัติการประจำปีให้เป็นระบบและมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 3. ผลการประเมินของกลยุทธ์การบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดตาก ตามเกณฑ์การประเมิน พบว่า ทุกรายการ มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และอยู่ในระดับมากและมากที่สุด

Abstract

              Thepurposesofthis researchwere: 1) to studytheconditions,the problemsand factors related to the management of the
annualoperationplanningstrategies, 2) to developthe strategiesfor themanagement , and 3) to evaluate the managementstrategiesofPrimary Schools Under Tak Primary Educational Service Area Office. The research procedures were divided into three steps as follows: 1) the studying of the states of problems and factors that related to the management of the annual operational planning strategies in primary schools under Tak Primary Educational Service Area Office by using the questionnaire with the variant 0.06 up. The data was collected from samples (344 administrators and teachers of Tak Primary Educational Service Area Office). The data was analyzed by using frequencies, percentages, means and standard deviation which was gained from the focus groups and 20 experts, 2) the studying of the development of the management of the annual operation planning strategies from the successful schools and workshops were analyzed as well as their environment. Then the related 16 experts were invited to join workshops and assessed the strategies by using connoisseurship with nine experts, 3) Assessing the consistency, suitability, feasibility and utility by 20 experts for the analyzed means standard deviation.

              The findings were as follows: 1. The results of the conditions, the problems and the factors related to the management of the annual operation planning strategies showed as a high level. The problems were at the moderate level as similar to the factors. 2. The Management of the Annual Operational Planning strategies of Primary Schools Under Tak Primary Educational Service Area Office suggested significantly 12 aspects namely 1) the development of competencies in the preparation of the annual operational planning involved, 2) the strength of the information system for preparing the annual operationalplanning, 3) the development of the annual operational planning quality, 4) the strength of the allocating budget system of the annual operational planning strategies, 5) the strength of the budget system management of the annual operational planning strategies, 6) enhancement of teamwork and the implementation of the annual operational planning strategies by using the quality integrated of Sufficiency Economic Philosophy, 7) the integration of the implementations of the annual operational planning strategies, 8) the development of the annual operational planning to related the strategies, 9) the development of the annual operational planning systems supporting and evaluation, 10) the supporting of the quality evaluation of the annual operational planning, 11) the factors development which related and the use of the results to adapt the annual operational planning, 12) the improvement of the annual operational planning is always qualified. 3.As the whole, the results of the strategy’s consistency, suitability, feasibility, and utility assessment showed that the strategy’s consistency, suitability and utility were at the highest level and the feasibility was at a high level.

Article Details

How to Cite
Thanu Nounpao ธ. น. (2015). กลยุทธ์การบริหารจัดการแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดตาก; The Management of the Annual Operational Planning Strategies for Basic Educational Commission Schools under Tak Primary Educational Ser. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 10(29(2), 141–154. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/44989
Section
Research Articles