วิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือด้วยการจัดการเรียนรู้ ตามกรอบการเสริมต่อการเรียนรู้แบบ DEEPER เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4; An Action Research for Enhancing Collaborative Problem Solving Competency of Grade 10

Main Article Content

ปาริชาต ผาสุข Parichat Phasuk

Abstract

บทคัดย่อ

                งานวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามกรอบการเสริมต่อการเรียนรู้แบบ DEEPER และเพื่อศึกษาการพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้เข้าร่วมงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 37 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามกรอบการเสริมต่อการเรียนรู้ DEEPER เรื่อง ระบบย่อยอาหาร แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ชนิดเลือกตอบ 12 ข้อ และบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้วิจัยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสังเกตการจัดการเรียนรู้เพื่อสะท้อนแนวทางการจัดการเรียนรู้ และนำคะแนนจากแบบทดสอบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือและบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมวิเคราะห์โดยแสดง ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และค่าสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ
                ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามกรอบการเสริมต่อการเรียนรู้ DEEPER มีลักษณะดังนี้ ขั้นระบุปัญหา ให้สถานการณ์เพื่อระบุปัญหาที่เกี่ยวข้อง สถานการณ์ควรเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ขั้นค้นหาข้อมูล ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาโดยเริ่มจากช่วยค้นหาให้ทั้งหมด เป็นค้นหาให้บางส่วนและค้นหาเอง จนให้ค้นหาเองทั้งหมดและควรให้เวลาค้นหาอย่างเพียงพอเพื่อให้มีข้อมูลพอในการแก้ปัญหา ขั้นอธิบายวิธีการแก้ปัญหา ใช้คำถามชี้นำเพื่อให้เขียนวิธีแก้ปัญหาพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ขั้นนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ให้ทุกกลุ่มนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาหน้าชั้นเรียน ควรวาดภาพเปรียบเทียบก่อนและหลังปรับปรุง ขั้นประเมินวิธีการแก้ปัญหา กำหนดให้เปรียบเทียบวิธีแก้ปัญหากับกลุ่มอื่น เพื่อหาจุดปรับปรุงตนเอง ขั้นสะท้อนผลที่ได้จากการแก้ปัญหา ส่งตัวแทนกลุ่มสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อนำไปพัฒนาในครั้งต่อไป  2) การจัดการเรียนรู้ตามกรอบการเสริมต่อการเรียนรู้ DEEPER สามารถช่วยพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ดังนี้ นักเรียนมีคะแนนสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือเฉลี่ยหลังเรียนอยู่ในระดับสูง ตามเกณฑ์ PISA2015 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนที่อยู่ในระดับกลาง นัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Abstract

                The purposes of this research were to study how learning management by DEEPER scaffolding framework and to study the result of learning management for enhancing collaborative problem solving (CPS) competency of Grade 10 students on digestive system. The methodology used is action research. The participants were 37 Grade 10 students  studying in 2nd semester, academic year 2015, a high school in Phitsanulok Province. The research instruments were:
4 lesson plans using DEEPER Scaffolding framework, the learning management observation, CPS competency test (multiple choice 12 questions) and the participation report. Collecting data from learning management observation was analyzed by content analysis to reflect learning management and the data from the CPS competency test and the participation report were calculated and shown in summary through mean (), standard deviation (S.D.), t-test for dependent sample.

                The study found that using learning management through DEEPER Scaffolding framework consists of 1) define the problem, give the daily life situation for finding problem; 2) explore the resources, searching the data for entire problem, then decrease searching for parts of the problem to gain advice, finally, students search by themselves. Essentially, give the sufficient time to search data; 3) explain your solution, asks guiding questions that leads to write all solution and the evidence are found; 4) present your solution, assign group’s presentation in the class and also show digestive system pictures between before and after; 5) evaluate your solution, requited to distinguish the solution with other groups to find weaknesses of their own. 6) reflect on your problem solving, selected the group’ volunteers reflect class learning for improvement next time. The results of the study showed that learning management through DEEPER Scaffolding framework enhanced CPS competency of Grade 10 students. CPS competency post test score was at a high level by PISA 2015 criteria, higher than the CPS competency pretest score which was  at the middle level statistically significant at the .05 level. 

Article Details

Section
Dissertations