การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย; Development of Learning Management Model to Promote the Critical Reading Ability by Using Metacognitive Strat
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ จำนวน 37 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบรบือวิทยาคาร จำนวน 27 คน รวม 64 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ E1 /E2 และ t - test ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัญหาในการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการตรวจสอบความเข้าใจ 2) ขั้นการบูรณาการมโนมติ 3) ขั้นการสอนและทดสอบการอ่าน 4) ขั้นการทบทวนและสะท้อนผล 5) ขั้นการประเมินผล
- ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ เท่ากับ 84.32/82.25 และโรงเรียนบรบือวิทยาคาร เท่ากับ 84.99/82.59 พบว่ารูปแบบมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมทั้งนักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก
The objectives of the present research were to 1) study the state of problems and need for a learning management model in promoting critical reading ability using metacognitive strategies for upper secondary students, 2) develop a learning management model for promoting ability critical reading ability by using metacognitive strategies for upper secondary students, and 3) assess the implementation of the learning management model in promoting critical reading ability using metacognitive strategies for upper secondary students. The research samples were 64 Grade 11 students consisting of 37 students from Kosumwittayasan School and 27 students from Borabuwittayakhan School studying in semester 2 of academic year 2015. The samples were obtained by means of cluster random sampling. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, development testing E1 /E2 , and t-test. The research findings are as follows:
- The students’ overall learning problem in critical reading ability was at a moderate level and the need for the learning management model in promoting their critical reading ability was at a high level. For teachers, the problem in managing learning to promote critical reading ability was at a high level. Their need for the learning management model to promote critical reading ability was also found at a high level.
- The learning management model for the promotion of critical reading ability using metacognitive strategies for upper secondary students. There were 5 stages in experience management consisting of 1) check understanding, 2) integrating , 3) teaching and testing, 4) reviewing and reflecting, and 5) assessing.
3. The implementation assessment of the learning management model for promoting critical reading ability using metacognitive strategies for upper secondary students showed that the efficiency students from Kosumwittayasan School equal to 84.32/82.25 and Borabuwittayakhan School equal to 84.99/82.59 its higher than the reference standard at 80/80. The critical reading ability after learning management model was higher than before using it with the statistical significance at .05. In addition, the students’ satisfaction was at a high level.