ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลวังไม้ขอน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย; Quality of Life among Elderly People in the Responsibility of Wangmaikon Sub-district Administrative Organization, Sawank

Main Article Content

เด่น นวลไธสง Dan Naulthaisong

Abstract

บทคัดย่อ

                การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Studies) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตความรับผิดชอบ ขององค์การบริหารส่วนตำบล
วังไม้ขอน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
กลุ่มตัวอย่างมีคุณสมบัติ คือมีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Content Validity Index: CVI)  เท่ากับ 0.90 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค (Cornbrash’s Alpha coefficient) ได้ค่าเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบสเปียร์แมน (Spearman rank correlation coefficient)

                ผลการวิจัยพบว่า จากการวัด Barthel Index of ADL (activities of daily living) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ อยู่ในกลุ่มติดสังคม และระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) อยู่ในระดับกลาง คิดเป็นร้อยละ 68.26 ส่วนระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-OLD-THAI) อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 74.78 การศึกษา, โรคประจำตัว, การเป็นสมาชิกชมรม, ตำแหน่งทางสังคม,  การตรวจสุขภาพประจำปี มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.50 และพบว่า เพศ, อาชีพ, รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม/ศาสนา มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Abstract

                Cross-sectional Descriptive Studies was employed in this study. The aims of this research were to determine the extent to which older personsin the responsibility of Wangmaikon sub-district administrative organization, Sawankhalokdistrict, Sukhothai province rated their quality of life and to investigate factors relating quality of life in old age. Two hundred and five samples were elderly people. A questionnaire was a tool for data collection. Its content Validity Index (CVI) was 0.90 and Cornbrash’s Alpha coefficient was 0.94. Spearman rank correlation coefficient were used for data analysis.

                The results were found that regarding Barthel Index of ADL (activities of daily living), most elderly people were social-bound. According to WHOQOL-BREF-THAI, 68.26% of participants stated that they were in the middle level of QOL (Quality of life) and 74.78% of participants stated that they were in the good level of WHOQOL-OLD-THAI (Quality of life in old age). Statistically significant differences were found on the Education, illness, being club member, position in society, and annual health check (P value = 0.05). Moreover, statistically significant differences were found on the sex, occupation, monthly income, and social and religion (P value = 0.01).

Article Details

How to Cite
Dan Naulthaisong เ. . น. (2017). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลวังไม้ขอน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย; Quality of Life among Elderly People in the Responsibility of Wangmaikon Sub-district Administrative Organization, Sawank. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 11(33(2), 89–104. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/71023
Section
Dissertations