การสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการชดเชยผลกระทบสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวจากกรณีน้ำมันดิบรั่วไหลที่เกาะเสม็ด ด้วยรูปแบบสมการโครงสร้าง (SEM) และทดสอบด้วยโปรแกรมทางสถิติลิสเรล Providing Suggestion of People Participation implementation in Environmental Impact Compensation in Tourism Place in Case of Crude Oil leak Samet island for Applying as Structural Equation Model (SEM) and testing by LISREL Program

Main Article Content

ดนัย บวรเกียรติกุล Danai Bawornkiattikul
วัลลภ ใจดี Wanlop Jaidee
พูลพงศ์ สุขสว่าง Poolpong Suksawang

Abstract

การวิจัยครั้งนี้นี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ  คือ เพื่อการสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการชดเชยผลกระทบสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวและทดสอบความเหมาะสมด้วยโปรแกรมทางสถิติลิสเรล  ทำการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และสิ่งคุกคาม (SWOT) จากการสัมภาษณ์ตัวแทนของภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจากกรณีน้ำมันดิบรั่วไหลที่เกาะเสม็ด ปี พ.ศ. 2556 คือ ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ สื่อมวลชนท้องถิ่น หน่วยงานราชการด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนจากโครงการพัฒนา  ทำการกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติของภาคส่วนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วย 1) ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ 2) โครงการพัฒนา 3) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 4) หน่วยงานราชการด้านสิ่งแวดล้อม 5)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6) สื่อมวลชนท้องถิ่น นำไปสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการชดเชยผลกระทบสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวตามกระบวนการการสมการโครงสร้าง โดยมีตัวแปรสังเกตได้ภายนอก (X) จำนวน 8 ตัว  ตัวแปรสังเกตได้ภายใน (Y) จำนวน 8 ตัว  ทดสอบรูปแบบ ฯ ด้วยโปรแกรมทางสถิติลิสเรล  โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วยบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 214 ราย  แล้วทำการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรแฝงภายในและภายนอก  ค่าสถิติไคสแควร์ (X2) หารด้วยค่า df  เท่ากับ 1.285 ค่า CFI เท่ากับ 0.90 ค่า GFI เท่ากับ 0.949 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.036 พบว่า  รูปแบบ ฯ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในระดับพอใช้ได้   ในด้านอิทธิพลของตัวแปรสังเกตได้ภายนอก พบว่า บทบาทของหน่วยงานราชการด้านสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อโครงการพัฒนาเท่ากับ 2.563 และผลการดำเนินการมีส่วนร่วม เท่ากับ 1.981 ซึ่งเป็นบทบาทที่มีอิทธิพลมากที่สุด


The main objectives of this study is to develop people participation in environmental impact compensation in tourism place model and test the fit in by LISREL program. To analyze strength weakness opportunities and threat with SWOT analysis by interviewing the delegates of stakeholder sectors and government departments relating crude oil leak in case of Samet island A.D. 2013 composed by impacted people, local press, environmental government department, local administration, developing project. To create suggestion concerning actions of relating sectors and departments that composed by 1) impacted people 2) developing project 3) village headman 4) environmental government department 5) local administration 6) local press. To provide people participation in environmental impact compensation in tourism place model by structural equation model (SEM) process by composed by 8 external latent variables (X) and 8 internal latent variables (Y). Testing model by LISREL statistic program by questionnaire from sample composed by 214 cases of concerning sector and analyzing influence of internal and external variables. By the value of Chi square/degree of freedom = 1.285, CFI = 0.90, GFI = 0.949, and RMSEA = 0.036. It found that model affected with empirical data in fairly level. For the influence of variables, it found that environmental government department gets the most influence for developing project = 2.563 and result of people participation = 1.981 that is the most influence action. 

Article Details

How to Cite
Danai Bawornkiattikul ด. . บ., Wanlop Jaidee ว. ใ., & Poolpong Suksawang พ. ส. (2018). การสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการชดเชยผลกระทบสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวจากกรณีน้ำมันดิบรั่วไหลที่เกาะเสม็ด ด้วยรูปแบบสมการโครงสร้าง (SEM) และทดสอบด้วยโปรแกรมทางสถิติลิสเรล: Providing Suggestion of People Participation implementation in Environmental Impact Compensation in Tourism Place in Case of Crude Oil leak Samet island for Applying as Structural Equation Model (SEM) and testing by LISREL Program. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 13(37), 31–46. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/72291
Section
Research Articles
Author Biography

ดนัย บวรเกียรติกุล Danai Bawornkiattikul, Faculty of Public Health Burapha University

Assisstant Professor Envirornmental Health Department Faculty of Public Health Burapha University

References

คม ชัด ลึก. (2556). วิกฤติน้ำมันรั่ว ! แรงสะท้อนต่อ ศก.ระยอง. ค้นเมื่อ 17 สิงหาคม

จาก http://www.komchadluek.net/detail/20130817/165898/

นวรัตน์ ไตรรักษ์. (2549). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ตำบลดอนหัวฬ่อ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษ (สาขาวิชานโยบายสาธารณะ). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

รติพร ถึงฝั่ง โกศล จิตวิรัตน์. (2554). ปัญหาและข้อเสนอแนะในการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม Lisrel, วารสารสมาคมนักวิจัย, 16(1), 107 - 109

สำนักงานไทยลอว์คอนซัลแตนท์. (2559). ทำน้ำมันรั่วในทะเล ต้องรับผิดชอบอย่างไร

หลักกฎหมายและบทเรียน ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2559 จากhttp://www.thailawconsult.com/nasid40.html

สุพจน์ นิ่มสกุลรัตน์. (2550). การใช้ SWOT วางแผนกลยุทธ์ในองค์กร, วารสารศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 15(1), 81 - 85

สุภมาส อังศุโชติ สมถวิล วิจิตรวงวรรณา รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม Lisrel, พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร : บริษัทเจริญดีมั่นคงการพิมพ์

สมชาย พุทธโกสัย. (2556). คุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาระดับประถมศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 2 กระทรวงศึกษาธิการ, วารสารสมาคมนักวิจัย 18 (2) : 92

ส่วนแหล่งน้ำทะเล สำนักการจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ. (2548). รายงานหลักโครงการจัดทำคู่มือการประเมินความเสียหายจากระบบนิเวศและทะเลจากน้ำมันรั่วไหล กรุงเทพ ฯ : สถาบันวิจัยและพัฒนา และกลุ่มความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Bingying Dong a, Ling Zhu b, Kevin Li c, Meifeng Luo. (2015). Acceptance of the international compensation regime for tanker oil pollution - And its implications for China. Ocean & Marine Policy 61,179 - 186.

Dohyeong Kim a, Gi-geun Yang b, Soojin Min a, Chul-hwan Koh. (2014). Compensation for the damages arising from oil spill incidents: Legislation infrastructure and characteristics of

the Chinese regime. Ocean & Coastal Management 102, 533 - 544.

International association for public participation. (2012). Spectrum of Public Participation Retrieved October 12, 2015, from International association for public participation