การส่งเสริมความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานทางการศึกษาและทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบการสร้างสรรค์ความรู้เชิงสังคม; Enhancing Understanding of Basic Concepts of Education and Attitude Towards The Teaching Profession of The Stud

Main Article Content

รุ่งฤดี ลุ่มร้อย Rungrudee Lumroy

Abstract

บทคัดย่อ

                งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดพื้นฐานทางการศึกษา และทัศนคติที่มีต่อวิชาชีพครูของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ที่เรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้เชิงสังคม กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตคณะมนุษยศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบวัดแนวคิดพื้นฐานทางการศึกษา อนุทินของนิสิต บันทึกหลังสอน ใบงาน และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา

                ผลการวิจัยพบว่า

                1.  นิสิตมีความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานทางการศึกษาหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียน โดยพบว่ามีความเข้าใจมากที่สุด ในเรื่องความรู้พื้นฐานการจัดการศึกษา ปรัชญาการศึกษา รูปแบบและแนวโน้มของการจัดการศึกษาและวิชาชีพครู ซึ่งนิสิตทุกคนมีความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานทางการศึกษาถูกต้องทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมาคือเรื่องความรู้เบื้องต้นของการศึกษา นิสิตส่วนใหญ่มีความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานทางการศึกษาถูกต้องทั้งหมดและเข้าใจถูกต้องบางส่วนคิดเป็นร้อยละ 75 และระดับน้อยที่สุดคือ เรื่องการศึกษาพิเศษ ซึ่งมีนิสิตครึ่งหนึ่งมีความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานทางการศึกษาถูกต้องทั้งหมด และนิสิตอีกครึ่งหนึ่งเข้าใจถูกต้องบางส่วน
คิดเป็นร้อยละ 50

                2.  นิสิตมีทัศนคติต่อวิชาชีพครูเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ก่อนเรียนนิสิตทั้ง 4 คนไม่มีความคิดที่จะประกอบอาชีพครู แต่หลังจากเรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบการสร้างสรรค์ความรู้เชิงสังคม พบว่า นิสิตเริ่มมีแนวคิดที่จะประกอบอาชีพครู มีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมากขึ้น รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับเพื่อนต่างสาขาวิชาได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองให้เหมาะสมกับวิชาชีพครูมากขึ้น  

Abstract

                The aim of this research was to study the basic concepts of education and attitudes toward the teaching profession of students of the Faculty of Humanities who learned through learning management based on social constructivism. The target group was 4 second-year students majoring in Thai language of the Faculty of Humanities in the first semester of academic year 2015 at an autonomous university in Bangkok. This study was a quasi - experimental research design.  Data were collected from assessment form for the basic concepts of education, students’ journals, post-teaching reports, worksheets, and an interview. Data were analyzed by using descriptive statistics and content analysis.

                The findings indicated that:

                1.  The students’ understanding of the basic concepts of education after class was higher than before class.  It was found that the most understanding area of students was fundamentals of educational management, philosophy of education, patterns and trends in education and the teaching profession. 100% of students understood the basic concepts of education precisely.  The second understanding was the basic concepts of education. 75% of students partially and fully understood the basic concepts of education, and the lowest level of understanding area was special education.  50% of students partially and fully understood the basic concepts of special education.

                2.  Students’ attitudes toward the teaching profession were changed.  Before class, the 4 students had no idea to become teachers.  However, it was found that students got the idea to work as teachers, understood more about student-centered education, including the ability to work with other classmates have different major subjects, and develop their own personality to suit the teaching profession more after learning through learning management based on social constructivism.

Article Details

Section
Research Articles