ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก; Factors Related to the Performance of Public Health to Support for the ASEAN Community in Primary Care Unit in Ma

Main Article Content

กรวรรณ ปัญญาพูล Korrawan Panyapool

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัย      ด้านแรงจูงใจ และปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถแห่งตนกับการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยเป็นการวิจัยแบบผสม ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอ    แม่สอด จังหวัดตากทั้งหมด 20 แห่ง รวม 86 คนและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งจากผู้บริหารงานสาธารณสุขระดับอำเภอและตำบลตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตัวแทนผู้นำชุมชน และตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวนทั้งสิ้น 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยเชิงปริมาณ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ได้แก่ แรงจูงใจด้านการยอมรับนับถือ ยกย่อง โอกาสความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน การบังคับบัญชา และการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข จึงควรมีการวางแผนเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสาธารณสุข ให้สอดคล้องกับบริบทของการปฏิบัติงาน 

Abstract

           This research aims to study the relationship between factors including personal factors, motivation factors, and the factors of motivation as well as factors affecting the efficacy of the performance of its health personnel to support ASEAN community at primary care unit in Maesot District, Tak Province by mixed research. Population and sample of research were 86 public health personnel working in the primary care unit Maesot District all 20 hole’s in Tak and in-depth interviews of 11 stakeholders from both the public and District Executive. Research tools consist of questionnaires for quantitative research and a se-mi structure interview for questionnaires for quantitative research. Analysis of the data by the distribution, frequency, percentage, average, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient statistic and content analysis were performed.

            The results showed that the factors relating to the performance of public health personnel to support ASEAN community (p<0.001), include incentives to recognize commendable job advancement, commanding from supervisor, and the understanding of public health personnel ability. The plan should be set to develop the capacity in accordance with context of the operation.

Article Details

How to Cite
Korrawan Panyapool ก. ป. (2017). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก; Factors Related to the Performance of Public Health to Support for the ASEAN Community in Primary Care Unit in Ma. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 11(33(2), 105–120. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/75677
Section
Dissertations