รูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย; The Model of Participation in Elderly Health Promotion of Wat Hua Fai Elderly School, San Klang Sub-District, Phan District, Chiang Ra

Main Article Content

ฤทธิชัย แกมนาค Rittichai Kamnak
สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์ Suphatja Phanlertphanij

Abstract

บทคัดย่อ

                  การวิจัยเรื่องรูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พัฒนาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุของโรงเรียนและเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยแจกแบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 60 รูป/คน ผลการวิจัย สรุปผลดังนี้

                  1. ในการค้นหาสภาพปัญหา ความต้องการ และการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุจัดลำดับความสำคัญของสภาพปัญหา ดังนี้ 1) ปัญหาด้านสุขภาพของสูงอายุ มีดังนี้ มีโรคประจำตัว สุขภาพไม่แข็งแรง 2) ปัญหาด้านจิตใจของสูงอายุ มีดังนี้ เหงา และเครียด 3) ปัญหาด้านการประกอบอาชีพของสูงอายุ มีดังนี้ 1) ผู้สูงอายุต้องการมีสุขภาพที่ดี สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีสถานที่ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมร่วมกัน 2) ผู้สูงอายุต้องการความเอาใจใส่จากครอบครัวและคนใกล้ชิด รวมถึงหน่วยงานที่ดูแลเรื่องของสุขภาพ 3) ผู้สูงอายุต้องการมีรายได้เสริม มีอาชีพ และมีตลาดรองรับผลผลิต ปัญหาสุขภาพของสูงอายุ มีดังนี้1) ผู้สูงอายุรับรู้ว่าการออกกาลังกายจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง การตรวจสุขภาพประจำปี จะช่วยให้ทราบถึงปัญหาสุขภาพ และแนวทางป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ 2) ผู้สูงอายุรับรู้ว่า การได้รับการดูแลเอาใจใส่จาก ครอบครัว ผู้ใกล้ชิด การมีกิจกรรมร่วมกันกับชุมชน ช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น 3) ผู้สูงอายุรับรู้ว่าการมีรายได้เสริมจากอาชีพที่สุจริต อาชีพที่ผู้สูงอายุสามารถทาได้ ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น

                  2. ได้โครงการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ทั้งหมด 6 กิจกรรม คือ กิจกรรมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กิจกรรมธรรมบำบัด กิจกรรมข่วงผญา กิจกรรมออกกำลังกาย กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และกิจกรรมอาชีพเสริมสำหรับผู้สูงอายุ เสริมรายได้ผู้สูงอายุบ้านหัวฝาย และได้จัดทำโครงการส่งเสริมและยกระดับศักยภาพการศึกษาของผู้สูงวัยด้วยภูมิปัญญาไทยพื้นบ้าน แห่งล้านนา ของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย มี 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมการออกกำลังกายและกีฬาผู้สูงอายุ กิจกรรมการประกอบอาชีพเสริมรายได้ ซึ่งการดำเนินงานในกิจกรรมตามโครงการ พบว่าได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายสามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมายทุกกิจกรรม

Abstract

                  The purposes of “The Model of Participation in Elderly Health Promotion of Wat Hua Fai Elderly School, San Klang Sub-District, Phan District, Chiang Rai Province” were to study circumstances, knowledge exchange model and elderly health promotion and quality of living, develop elderly health promotion behavior of the elderly school and propose the model of participation in elderly health promotion of Wat Hua Fai Elderly School, San Klang Sub-District, Phan District, Chiang Rai Province. The questionnaire, informal interview, participant observation, non-participant observation, field note, focus group, and group activity were applied for compiling data. The results were summarized and discussed regarding to participation in elderly health promotion of Wat Hua Fai Elderly School, San Klang Sub-District, Phan District, Chiang Rai Province. The findings were:

                  1. For discovering problems, needs, and perception of health problems of elderly, it was found that the elderly prioritized the problems as follows: 1) health problems included chronic diseases and unhealthy; 2) mental problems included loneliness and stress; and 3) occupation problems. Needs of the elderly were as follows: 1) the elderly need good and strong health, no diseases and had a place for do activities and exercise together; 2) the elderly need carefulness from their family members, intimates and healthcare agencies; and 3) the elderly need part-time jobs, occupations and market for their products. The perception of elderly contained: 1) the elderly perceived that workout will make them health and annual checkup will help them learn about health problems and disease prevention; 2) the elderly perceived that carefulness from family members, intimates and community activity participation will make them have better mental health; and 3) the elderly perceived that additional income earned from decent occupations will make their quality of life better.

                  2. Six elderly health promotion activities comprised: quality of living activity, dharma activity, Khuang Paya activity, workout activity, health promotion activity, and occupation activity for elderly in Baan Hua Fai. Moreover, the project of promoting and enhancing study potential of the elderly with Lanna folk wisdom of the Wat Hua Fai elderly school were divided into two activities: workout and sports and part-time jobs. After running the activities, it was found that the target group collaborated with the proposed activities and all activities were achieved in line with goals.

Article Details

Section
Research Articles