การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง pH ของสารละลายกรด-เบสและพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL; The Study of Learning Achievement on the pH of the acid-base and Group Beh

Main Article Content

วีรศักดิ์ วิริยมานะธรรม Weerasak Wiriyamanatham

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง pH ของสารละลายกรด-เบส โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จำนวน 37 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.43-0.70 ค่าอำนาจจำแนก (r)  อยู่ระหว่าง 0.33-0.73 ค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบเท่ากับ 0.902 และแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.708 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ คือ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ (%) และการทดสอบค่าที (t-test)             


                ผลการวิจัย พบว่า


  1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง pH ของสารละลายกรด-เบส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับ
    การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ก่อนเรียน = 9.57, S.D. = 2.70, ร้อยละ 31.89 และหลังเรียน = 22.59, S.D. = 2.53, ร้อยละ 75.32 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

  2.  พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ
    เทคนิค KWDL ก่อนเรียน = 11.24, S.D. = 1.02, ร้อยละ 70.25  และหลังเรียน = 13.74, S.D. = 1.06 ร้อยละ 85.88 พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

    The purposes of this research were to study learning achievement and the group behaviors of Matthayomsuksa 5 students through STAD technique with KWDL technique, compare learning achievement before and after and after with 70% and compare the group behaviors before and after. The sampling 37 students from Mattayomsuksa 5 Room 4 second semester of 2016 academic year at Bunluawitayanuson school, Secondary Education Service Area Office 31. The sample group was selected by cluster random sampling. The research instruments were lesson in 5 lesson plans for 15 hours, learning achievement test in the degree of difficulty between 0.43-0.70, the discrimination power between 0.33-0.73 and reliability coefficient of 0.902 and group working behaviors observation froms of reliability coefficient of 0.708. The data were analyzed to find out the mean, percentage, standard deviation and t-test.


    The research findings were summarized as follows


    1. Learning achievement of the Matthayomsuksa 5 students through STAD technique with KWDL technique shows that before were = 9.57, S.D. = 2.70, 31.89% and after = 22.59, S.D. = 2.53, 75.32%. and after was higher than before and after learning was higher than the one set the standard 70 percentage criterion with statistical significance at .05 level.

    2. Group behaviors of the Matthayomsuksa 5 students through STAD technique with KWDL technique shows that before the lessons were = 11.24, S.D. = 1.02, 70.25% and after = 13.74, S.D. = 1.06, 85.88% and after learning was higher scores than before the lessons with statistical significance at the .05 level.


Article Details

Section
Dissertations