การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบด้วยการแนะแนวทาง เรื่อง การประยุกต์ตรีโกณมิติ ที่ส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4; An Action Research on Developing Learning Management Based on Guided Discovery M
Main Article Content
Abstract
การคิดเชิงคณิตศาสตร์เป็นทักษะที่ฝึกให้นักเรียนแก้ปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล พร้อมทั้งสื่อสารวิธีการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ แต่กระนั้นการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์อันเป็นหนึ่งในการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบด้วยการแนะแนวทาง เรื่อง การประยุกต์ตรีโกณมิติ ที่ส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก จำนวน 24 คน ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนตามวงจร PAOR ทั้งหมด 3 วงจร โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนจัดการเรียนรู้แบบค้นพบด้วยการแนะแนวทาง ใบกิจกรรม แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบการคิดเชิงคณิตศาสตร์ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า
ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบด้วยการแนะแนวทางที่ส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ให้ความสำคัญกับการเตรียมความรู้ของนักเรียนที่จำเป็นต่อการค้นพบ การเลือกปัญหาที่นักเรียนสนใจ การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น การแนะแนวทางการแก้ปัญหาด้วยการใช้คำถาม การสรุปสิ่งที่ค้นพบด้วยตัวนักเรียนเอง และการทดสอบข้อสรุปที่ค้นพบด้วยสถานการณ์ปัญหาที่มีลักษณะคล้ายกัน ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่มีการคิดเชิงคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดีมาก
Mathematical thinking is a skill that support students to solve problems sensibly and to communicate the solution, but even so, student’s mathematising that is one of Mathematical Literacy was low. This research aims to study guided discovery method on grade 10 students’ mathematical thinking in Application of Trigonometry. The research participants were 24 students in Princess Chulabhorn Science High School Phitsanulok. In the research process, the cycle of PAOR was run for 3 rounds. Research instrument consist lesson plans, activity sheets, reflection form, and mathematical thinking test. Data were analyzed by content analysis and data creditability by triangulation method. The results of the study found that guided discovery method, should emphasize on preparing the student's knowledge for discovery, choosing problems by student’s interest, encouraging students to share their ideas, counseling the solution with questions, summarizing the discovery by themselves, and testing the conclusion with similar problematic situations. That made most students was in very good level in mathematical thinking.