การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 An Action Research on Developing Problem-based Learning Activities to Enhance Mathematical Literacy in Conic Sections Topic of Students in Grade 10

Main Article Content

กมลกานต์ ศรีธิ Kamonkarn Srithi

Abstract

              การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เป็นความสามารถของนักเรียนในการประยุกต์ใช้ความรู้จากการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มาใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆในชีวิตจริง เนื่องจากผลการประเมินการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนไทยมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของประเทศที่เข้าร่วมองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ(OECD)  การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางและผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานจะเน้นการใช้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงเป็นเครื่องมือในการช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการวิเคราะห์และแก้ปัญหาร่วมกันเป็นกลุ่ม  ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดพิษณุโลก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบทดสอบการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย โดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ผลการวิจัยพบว่า  การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ภาคตัดกรวย ควรเน้นการใช้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวงกลมและวงรีในชีวิตประจำวันหรือที่นักเรียนเคยมีส่วนร่วมเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิดสถานการณ์ของปัญหาในเชิงคณิตศาสตร์  ควรให้นักเรียนหาวิธีการแก้ปัญหาโดยการค้นคว้าด้วยตนเอง  ควรออกแบบใบกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนแก้ปัญหาตามลำดับขั้นตอน  ควรให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่นักเรียนเกี่ยวกับหลักการและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่นักเรียนจะใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องวงกลมและวงรี  รวมถึงควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงวิธีแก้ปัญหาและตรวจสอบคำตอบหน้าชั้นเรียน เพื่อร่วมกันหาข้อสรุปทางคณิตศาสตร์แล้วตีความออกมาในบริบทของปัญหาโลกชีวิตจริง ส่งผลให้นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับการรู้คณิตศาสตร์อยู่ในระดับ ดี และโดยภาพรวมนักเรียนมีระดับความสามารถในกระบวนการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ด้านการคิดสถานการณ์ของปัญหาในเชิงคณิตศาสตร์อยู่ในระดับ ดีมาก


          Mathematical literacy is a student ability that reflect their apply knowledge acquired from mathematics courses in real-world problem solving. But the recent results of Mathematic literacy assessment indicated that Thai students gained the lower mean score than those of the other OECD member countries. Therefore, this research aimed to study the impact of Problem-based learning on mathematical literacy in a topic of Conic Sections. In the Problem-based learning, the real-world problems were used as a tool to promote students learning. Facing with the real-world problems, the students learned through the analytical process and teamwork collaboration in problem solving resulting in the thinking skills and problem-solving processes which are necessary in real-life situations. The target group for this research was 40 students from grade 10 of science and mathematics program in one of the extra-large high schools in Phitsanulok Province. Research instruments included the lesson plans, the work sheets and the mathematical literacy test by using Classrom Action Research form. The results showed that Problem-based learning emphasizes on the use of real-world problems, which students have experienced in their everyday to stimulate the students’ learning, using the process of problem-solving, searching the problem-solving strategies by themselves. In addition, this learning system emphasizes on designing the works sheets that encourage the students to solve problems sequentially, providing additional guidance to the students regarding the appropriateness of the selected solution(s) as well as providing the opportunities to students to demonstrate the solution and check out the answers in the classroom. As a result, most of the students had had ‘good’ level of mathematical literacy in the classroom in which the Problem-based learning was integrated.

Article Details

Section
Dissertations

References

ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2559). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ชัยยศ จระเทศ. (2558). การส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวาปีปทุม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.


ชวนพิศ คณะพัฒน์ และคณะ. (2559). ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการใช้ปัญหานำทางและการวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมและแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคมเพื่อส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 6(11), 67-80.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันดี ต่อเพ็ง.(2553). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัลลี สัตยาสัย. (2547). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักรูปแบบการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: บุ๊คเน็ท.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: 3-คิว มีเดีย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลและประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์การอ่าน และวิทยาศาสตร์ นักเรียนรู้อะไร และทำอะไรได้บ้าง. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Belland, B. R., Glazewski, K. D., and Ertmer, P. A. (25 August 2015). Inclusion and Problem-Based Learning: Roles of Students in a Mixed-Ability Group. Retrieved June 10, 2017, from http://dx.doi.org/10.1080/19404476.2009.11462062

Cerezo N. (8 December 2015). Problem-Based Learning in the Middle School: A Research Case Study of the Perceptions of At-Risk Females. Retrieved June 10, 2017, from http://dx.doi.org/10.1080/19404476.2004.11658164

Reys, R. E., Lindquuist, M. M., Lambdin, D. V. and Smith, L. N. (2014). Helping Children Learning Mathematics. (11th ed.). Indiana: Courier Kendallville.