การยกระดับคุณภาพผู้เรียนจากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์; Improving Students’ Quality from Ordinary National Educational Testing (O-NET) of Small Schools in Nakhon Saw

Main Article Content

บัณฑิตา อินสมบัติ Bantita Insombat
สิริพร ปานาวงษ์ Siriporn Panawong
อนงค์นาถ ยิ้มช้าง Anongnat Yimchang

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนขนาดเล็กจากผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ข้อมูลปี 2555-2558 2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนขนาดเล็กจำแนกตามเขตพื้นที่และบริบทเขตเมือง-นอกเขตเมือง 3) เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) และนำเสนอแนวทางการในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนขนาดเล็กที่ มีขั้นตอนการวิจัยดังนี้ 1) วิเคราะห์พัฒนาการคุณภาพผู้เรียนผลการทดสอบ
O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ จำนวน 307 โรงใน 5 วิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ  2) ศึกษาวิธีการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยการประชุมกลุ่ม (Focus Group) ตัวแทนผู้บริหาร ครู และศึกษานิเทศก์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลหารสนทนากลุ่มใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนพัฒนาการในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ รองลงมาเป็นคณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย และภาษาอังกฤษโดยโรงเรียนที่อยู่ในเขตเมืองมีพัฒนาการมากกว่าโรงเรียนนอกเขตเมือง โรงเรียนในเขตพื้นที่นครสวรรค์เขต 2 มีพัฒนาการคุณภาพผู้เรียนสูงกว่าเขต 1 และ เขต 3 ตามลำดับ และโรงเรียนในเขตพื้นที่นครสวรรค์ เขต 2 มีพัฒนาการคุณภาพผู้เรียนสูงสุดในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์  2) แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนขนาดเล็กคือการกำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียนในการยกระดับคุณภาพผลการทดสอบ O-NET พร้อมกับการจัดชั้นเรียนให้เหมาะสมกับจำนวนครูและบุคลากรในโรงเรียน เน้นการสอนในวิชาหลัก  ร่วมใช้ทรัพยากรกับโรงเรียนเครือข่าย และจัดทำโครงการสอนเสริมหรือการติวเข้มข้อสอบ O-NET ให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 


Abstract


The purposes of this study are 1) to analyze student quality development in small schools from Ordinary National Education Testing (O-NET) of Prathom 6 level between 2012 -2015 academic years. 2) to compare the student quality development in small schools classified by educational service area and 3) to study the best practice and present the guidelines for improving student quality development in small schools from
O-NET score. The procedures of the study are as follows: 1) analyze the student quality development from Ordinary National Education Testing (O-NET) in 5 subjects; Thai, Mathematics, Science, Social Study and English in Prathom 6 level from 307 small schools in Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office and 2) study the depth information about improving student quality in small schools with the best practice in order to use the depth information as a guideline to improve student quality in other schools.


The results of this study reveal that:


1)     Students in Prathom 6 have growth score in Science, Mathematics, Social Study, Thai and English, respectively. Schools in the city have more development than schools in the countryside and schools under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2 have more student quality development than schools under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 1 and 3 respectively. In addition, schools under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2 have the most student quality development in Science while schools under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 1 and 3 have the most student quality development in Mathematics.


2) The best practice for improving student quality in small school is to determine school visions and manage classroom in term of number of teacher per class. Moreover, students should get an opportunity to join other sources with other schools and get a special class about O-NET continually. 

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

บัณฑิตา อินสมบัติ Bantita Insombat, Graduate School Nakhon Sawan Rajabhat University

Department of Educational Research and Evaluation, Facuty of Education Nakhon Sawan Rajabhat University