การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ The development of a training curriculum to enhance the 21th century learning skills for teacher student in Rattanakosin Rajabhat University

Main Article Content

สุธน วงค์แดง Suthon Wongdaeng
ภาณุมาส เศรษฐจันทร Panumas Sethachan
วีระพงษ์ สิงห์ครุธ Weerapong Singkrut

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้  ในศตวรรษที่ 21 และ 2) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มรัตนโกสินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi -stage random sampling) เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  3) แบบสังเกตทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม  สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีแบบ dependent t-test


                   ผลการวิจัย 1) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า  1.1) การศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า  นักศึกษาครูมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับน้อย  ส่วนความต้องการความจำเป็นในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก 1.2) หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย  เนื้อหาและโครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร  ระยะเวลา  กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อประกอบการฝึกอบรม การวัดผลและประเมินผล เนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรมแบ่งออกเป็น 4 หน่วยการเรียนรู้  จำนวน 40 ชั่วโมง 1.3) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของหลักสูตรฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องเหมาะสมระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 1.4) และจากการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า นักศึกษาครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักศึกษาครูมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับดีมาก และหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2)การศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.25/87.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 และนักศึกษาครูมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด 


           The purposes of this research were 1) to develop the training curriculum to enhance the 21th century learning skills and 2) to study the efficiency of the training curriculum to enhance the 21th century learning skills for student teachers in Rajabhat University, Rattanakosin group. The samples were 60 of student teachers in Rajabhat University, Rattanakosin group in the second semester of the class of 2016 which were selected by Multi -stage random sampling. The research instruments were 1) the training curriculum to enhance the 21th century learning skills for student teachers in Rajabhat University, Rattanakosin group 2) pre-and post-test 3) the 21th Century learning skills assessment adapted from the method of Randy, Kanickberg and Bruck (2012), Roekel (2012) and Vipavee Siriluk and other (2014). 4) the student teachers’ satisfaction survey toward the training curriculum. Data were analyzed by using the statistics as frequency, percentage, mean, standard deviation and dependent t-test.


            The results of the study were 1) the generality and needs to improve the 21th century learning skills show that the 21th century learning skills of the student teachers were at low level while the requirement for developing on the 21th century learning skills were at high. The training curriculum has a total of 7 key elements that were principle, objective, content and structure of content, period of program, activities, media, measurement and evaluation which showed the Index of Item Objective Congruence at the high level between 0.67-1.00. The lesson of the training curriculum was divided into 4 units for 40 hours. The findings of the research indicated that the student teachers’ knowledge about the 21th century skills gained the post-test average scores significantly higher than pre-test scores at 0.05 level. And after the implementation, the average scores of the 21th century learning skills were at high level. In addition, the 21th century learning skills of the students after the training were higher than before training at a .05 level of significance. 2) the efficiency of the training curriculum to enhance the 21th century learning skills for student teachers in Rajabhat University, Rattanakosin group reached at 84.25/87.25 which was higher than the established requirement of 80/80. Finally, the satisfaction survey indicated that students’ overall satisfaction with the training curriculum was at the highest level. 

Article Details

Section
Research Articles

References

ไกรยส ภัทราวาท. (2560) . เอกสารประกอบการบรรยาย หัวข้อ การเรียนรู้เพื่อทักษะแห่งอนาคต. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560, จาก https://qlf-production.s3.amazonaws.com/uploads/content/article_file/217/Thailand_4_0.pdf. สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).

ชัยวัฒน์ จิวพานิชย์วารี. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างบทเรียนออนไลน์โดยใช้ LMS Moodle เพื่อการเตรียมความพร้อมในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิตาภรณ์ เวียงวิเศษ และคณะ. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสมรรถนะการวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ISSN 1686-0101, รมยสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(1), 33-43.

ฐิติชัย รักบำรุง และคณะ. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนิสิตวิทยาลัยการศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 11(6). 97-110.

เด่นพงษ์ พลละคร. (2551). การนำความรู้ทางทฤษฎีการบริหารบุคคลไปใช้ปฏิบัติ. ปทุมธานี: คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรังสิต.

ทิศนา แขมมณี. (2555).ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนียา เทียนคำศรี. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อการออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา. รมยสาร. 12 (1), 103-113.

บัณฑิต ฉัตรวิโรจน์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูด้วยกระบวนการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. สักทอง: วารสารการวิจัย, 15 (1), 33-49.

พิจิตรา ธงพานิช. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการย้อนกลับ (Backward Design). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน: ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2555). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาสกร พงษ์สิทธากร. (2555). การศึกษาการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ อิงมาตรฐาน สำหรับครูภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฤตินันท์ สมุทร์ทัย. (2556). การวิจัยนำร่องการพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูสาหรับศตวรรษที่ 21 เชียงใหม่. โครงการอุดหนุนการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วารี ชมชื่น และคณะ. (2558). กลยุทธ์การดาเนินการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. ปีที่ 10 ฉบับพิเศษ (ครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์), 87-100.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.

_________ . (2556). การสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 . กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2555). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ้นท์.

วิภาวี ศิริลักษณ์ และคณะ. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารการศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16 (4), 155-165.

วิไลลักษณ์ แก้วจินดา. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น . ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร และการสอน. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์ และอติยศ สรรคบุรานุรักษ์. (2558). การบริหารจัดการหลักสูตรในศตวรรษที่ 21: ห้องเรียนที่กว้างเท่ากับโลก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 10 (28), 1-14.

สุนันท์ สังข์อ่อง. (2555). หลักสูตรและการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21 . เอกสารประกอบการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 . สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2560, จาก https://www.onec.go.th/index.php/ page/view/Outstand/2532.

อารีรักษ์ มีแจ้ง และสิริพร ปาณาวงษ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษา อังกฤษโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสาหรับครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12 (2), 17-31.

เอกชัย พุทธสอน. (2557). แนวโน้มการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2559, จาก Journal of Education. https://www.edu.chula.ac.th/ojed.

Cascio, Wayne F. (1986). Management Human Resources : Productivity, Quality of Work life, Profits. New York: McGraw-Hill Book.

Dessler,G. (1988). Personal Management :Training and Development.4thed. New Jersey : Prentice-Hall.

Kay, K. (2010). 21st century skills: Why they matter, what they are, and how we get there. In Bellanca, J., & Brandt, R. (Eds.), 21st century skills: Rethinking how students learn. Bloomington, IN: Solution Tree Press.

Martin, J. (2010). The meaning of the 21st century. Bangkok, Inc.

Partnership for 21st Century Skills. (2009).Framework for 21st century learning. Tucson, AZ : Partnership for 21st Century Skills. Retrieved August 10,2009, From www.p21.org/index.php? option=com_ content&task =view&id=254&Itemid =120.

Randy I. Dorn, Ken Kanikeberg and Alan Bruke. (2012). 21 th Century Skills in Career and Technical Education Resource Manual. Washington Superintendent of Publication Instruction.

Roekel, D. V. (2012). Preparing 21st Century Students for a Global Society. Washington: National Education Association.

Taba, H. .(1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York : Harcourt Brace & World.

Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. San Francisco, CA: John Wiley & Sons.

Tyler, R. W. (1971). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: The University of Chicago Press.