การประยุกต์ใช้สถิติไคกำลังสอง (Chi-square) กับงานวิจัยทางการศึกษา Application of chi-squared statistics to educational research
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนำเสนอการประยุกต์ใช้สถิติไคกำลังสองซึ่งเป็นสถิติที่ไม่ใช้พารามิเตอร์กับงานวิจัยทางการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลที่มีลักษณะการแจกแจงไม่เป็นโค้งปกติ ตัวแปรในการวิเคราะห์เป็นตัวแปรจัดประเภทที่มีลักษณะข้อมูลเป็นความถี่ ซึ่งในบทความนี้ได้แสดงวิธีการคำนวณค่าไคกำลังสอง และการทดสอบสมมติฐานที่ใช้สถิติไคกำลังสองด้วยมือ พร้อมทั้งเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์จากโปรแกรมสำเร็จรูป spss version 22 กับลักษณะตัวอย่าง 5 กรณี ได้แก่ 1) ตัวอย่างกลุ่มเดียว 2) ตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระกัน 3) ตัวอย่างสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน 4) ตัวอย่างมากกว่าสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และ 5) ตัวอย่างมากกว่าสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน อีกทั้งยังแสดงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการใช้ค่าสถิติไคกำลังสองอีกด้วย ซึ่งพบว่าผลการวิเคราะห์ด้วยมือและผลการวิเคราะห์จากโปรแกรมสำเร็จรูปให้ผลการวิเคราะห์ที่เหมือนกัน ยกเว้นกรณีการทดสอบการแจกแจงของข้อมูลว่าเป็นโค้งปกติหรือไม่ ที่ผลการทดสอบสมมติฐานจากการคำนวณด้วยมือกับการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปให้ผลแตกต่างกัน ดังนั้นการประยุกต์ใช้สถิติไคกำลังสองกับงานวิจัยทางการศึกษาจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เชื่อถือได้ในกรณีที่ข้อมูลมี การละเมิดข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติพาราเมตริก
Article Details
References
Hollander, M., Wolfe, D.A. and Chicken, E. (2014). Nonparametric Statistical Methods (3rd Ed.). New York, NY: John Wiley & Sons Inc.
Verma, J. P. (2013). Chi-square test and its application. In J. P. Verma (Eds.), Data Analysis in Management with SPSS Software (pp. 69-101). Delhi, New Delhi: Springer.
ณหทัย ราตรี (2556). สถิติเบื้องต้น แนวคิดและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมวัน, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2553). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). บางกอกน้อย, กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์, ดิเรก ศรีสุโข (2555). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). ปทุมวัน, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาดา บวรกิตติวงศ์ (2561). สถิติที่ไม่ใช้พารามิเตอร์. เอกสารคำสอนวิชา 2758603 สถิตินอนพาราเมตริกในการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. ปทุมวัน, กรุงเทพฯ: ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ติรกานันท์ (2553). สถิตินันพาราเมตริก. ปทุมวัน, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.