แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา The Development Approach for Marketing Strategy of Community Products in Thakham, Hat Yai District, Songkhla Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลท่าข้าม 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลท่าข้ามของผู้บริโภค และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลท่าข้าม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการเจาะจงเลือกสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารจำนวน 7 กลุ่ม เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 21 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้างและการสังเกต แบบไม่มีส่วนร่วม ในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปประเด็นและนำไปสู่การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลท่าข้าม ซึ่งไม่ทราบขนาดประชากร จึงใช้สูตรคำนวนจำนวนกลุ่มตัวอย่างของ Cochran โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 385 ราย ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนแบบประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลท่าข้ามมีจุดแข็งในด้านผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น จุดอ่อน ในด้านรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ยังไม่ค่อยเป็นที่สนใจของผู้บริโภค โอกาสในด้านมีการส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์ชุมชนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนและอุปสรรคของผลิตภัณฑ์ชุมชนคือมีสินค้าทดแทนจำนวนมาก 2) กลยุทธ์การตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลท่าข้ามของผู้บริโภค (R = 0.756)โดยตัวแปรต่าง ๆ สามารถอธิบายการผันแปรของการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลท่าข้ามได้ร้อยละ71.40 และ 3) แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลท่าข้าม กลุ่มวิสาหกิจควรให้ความสำคัญกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ที่สร้างความแตกต่างในด้านเอกลักษณ์ทรัพยากรเฉพาะพื้นที่ กลยุทธ์ด้านราคาควรกำหนดราคาขายแบบมัดรวมสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความคุ้มค่า กลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายควรมีการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ให้สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค และกลยุทธ์ด้านการสื่อสารการตลาดควรมีการโฆษณา การประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการบริโภคผลิตชุมชนและสร้างการรับรู้แก่ลูกค้า
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
จักรพันธ์ จันทร์หอม และภัทรธิรา ผลงาม. (2562). การวิจัยและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนในกลุ่มแม่บ้าน
เกษตรกรบ้านสว่างธรรมวิเศษ ตำบลบ้านน้ำอ้อม อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1), 276 - 288.
จิตรา ปั้นรูป, วรรณิดา ชินบุตร, ฐาณิญา อิสสระ และเอกชัย ดวงใจ. (2662). การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด
เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตน้ำยาชีวภาพ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 6(1), 118 - 140.
ณัฐภาณี บัวดี และอดิเรก ฟั่นเขียว. (2562). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
แปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วย ในอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 9(1), 15 - 24.
ทิฆัมพร เพทราเวช. (2559). ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค ความพึงพอใจในคุณภาพ
การบริการที่มีผลต่อกระบวนการการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงภาพยนตร์เนวาด้า จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(1), 87-97.
ทวิสันต์ โลณานุรักษ์และเสาวลักษณ์ จิตต์น้อม. (2559). กลยุทธ์ทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคและ
ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา. รายงานสืบเนืองจากการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 (น.73-80). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
พินิจ มีคำทองและ โกวิทย์ แสนพงษ์. (2562). เทคนิคการวิเคราะห์สภาพการพัฒนาเพื่อการวางแผนกลยุทธ์
ของสถานศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(3), 111 - 120.
วิมลสิริ กูกขุนทด, ณัฐชนน มาพิจารณ์,อิสสราพร กล่อมกล่ำนุ่ม และณัฐพล บ้านไร่. (2563). การพัฒนา
วิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ:กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตและพัฒนาการแปรรูปกล้วยตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร.รายงานสืบเนืองจากการประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นและสังคมระดับชาติ (CSD สัมพันธ์) ครั้งที่ 19 (น.671-678).ลำปางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง.
สุดารัตน์ แช่มเงิน ประเดิม ฉ่ำใจ และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนไวน์ศรีชุมแสง ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 35(3), 127 - 136.
สุวนาถ ทองสองยอด และภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา. (2561). แนวทางการพัฒนาช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์
เกลือตำบลบานา จังหวัดปัตตานี. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร 13(1), 14 - 28.
อลิศศยานันท์ เจริญพูล. (2561). กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง
ผ่านระบบโมบายคอมเมิร์ซ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการการตลาด). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rded.). New York: John Wiley and Sons Inc
Pradeep, K. & Aspal, J. (2011). Break down of marketing P's: “A new evolution”, VSRD International
Journal of Business & Management Research, 1(3), 59 - 63.