การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ภาษาไทย ตามทฤษฎีเชื่อมโอนภาษา สำหรับครูที่สอนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ The Development of Training Curriculum to Enhance the Ability of Thai Language Teaching Based on Translanguaging Theory for the Teachers of Ethnic Group

Main Article Content

ฐิติพร ไขแสง Thitiporn Khaisaeng
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ Jakkrit Jantakoon
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล Wichian Thamrongsottisakul

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามทฤษฎีเชื่อมโอนภาษา สำหรับครูที่สอนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอนคือ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามทฤษฎีเชื่อมโอนภาษา สำหรับครูที่สอนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรม 3) เพื่อทดลองการใช้หลักสูตรฝึกอบรม และ 4) เพื่อประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6  จำนวน 10 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามทฤษฎีเชื่อมโอนภาษา สำหรับครูที่สอนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์  สถิติที่ใช้คือ สถิติทดสอบลำดับที่โดยใช้เครื่องหมายวิลค็อกซัน สถิติทดสอบที  และการวิเคราะห์เนื้อหา


         ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูควรมีความรู้ความเข้าใจมาตรฐานและตัวชี้วัดในหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียน  2) ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า องค์ประกอบหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก  ( gif.latex?\bar{x}= 4.46, S.D. = 0.55) และเอกสารประกอบหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.40, S.D. = 0.55)  โดยหลักสูตรฝึกอบรมมีความโดดเด่นคือ ครูผู้เข้าฝึกอบรมได้รับการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ   3) ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า ครูผู้เข้าฝึกอบรมตามหลักสูตรมีความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยตามทฤษฎีเชื่อมโอนภาษา หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 4) ผลการประเมินหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ความพึงพอใจของครูผู้เข้าฝึกอบรมด้านปัจจัยนำเข้าที่มีต่อคุณลักษณะของวิทยากร
อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.56, S.D. = 0.39), ด้านกระบวนการที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรอยู่ใน
ระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.48, S.D. = 0.39) และด้านผลลัพธ์ที่มีต่อการนำผลที่ได้จากการเข้าฝึกอบรมไปปฏิบัติการสอน
อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.32, S.D. = 0.50)

Article Details

How to Cite
Thitiporn Khaisaeng ฐ. ไ., Jakkrit Jantakoon จ. . จ., & Wichian Thamrongsottisakul ว. . ธ. (2023). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ภาษาไทย ตามทฤษฎีเชื่อมโอนภาษา สำหรับครูที่สอนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์: The Development of Training Curriculum to Enhance the Ability of Thai Language Teaching Based on Translanguaging Theory for the Teachers of Ethnic Group. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 18(2), 169–184. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/258729
บท
บทความวิทยานิพนธ์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551.

กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2560). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์ วี พรินท์.

ชาริณี ตรีวรัญญู. (2550). การพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษาตาม

แนวคิดการศึกษาผ่านบทเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2558). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มธุรส ประภาจันทร์ และคณะ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการสอนอ่านและวินิจฉัยการอ่าน สำหรับครูระดับประถมศึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.มหาวิทยาลัยศรนครินทรวิโรฒประสานมิตร.กรุงเทพฯ.

ศศิธร ชิดนายี. (2560). การฝึกหัดทางปัญญา : รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างความรู้.

วารสารวิทยาลัยพยาบาลราชชนนี อุตรดิตถ์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม - ธันวาคม 2560.

อรุณลักษณ์ คำมณี. (2561). หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Anne-Marie Bezzina. (2017). Translanguaging Practices in the Teaching of French as a Foreign Language in Malta.Faculty of Education, University of Malta.

Dorotea Scopich. (2018). TRANSLANGUAGING IN AN EFL CLASSROOM: ATTITUDES AND PRACTICE. Submitted in partial fulfilment of the requirements for the M.A.in English Language and Literature and Italian Language and Literature at the University of Rijeka.

Ofelia Garcia, Susana lbarra Johnson and Kate Seltzer.(2017). THE TRANSLANGUAGING CLASSROOM : Leveraging Student Bilingualism for Learning.Philadelphia : Caslon, Inc.

Proceedings. (2016). Pedagogical and Cultural Approaches in Western Languages (The First International Conference). Srinakharinwirot University Bangkok, Thailand.