การจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาของเทศบาลในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันกับความเสมอภาคทางการศึกษาของผู้สูงอายุ การจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาของเทศบาลในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันกับความเสมอภาคทางการศึกษาของผู้สูงอายุ

Main Article Content

ลภัสรดา จิตวารินทร์ Lapasrada Jitwarin
ธวัชชัย จิตวารินทร์ Tawatchai Jitwarin
ภัทรวรรต ศรีบุญจิต Pattrawat Sriboonjit

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการจัดบริการสาธารณะทางการศึกษาแก่ผู้สูงอายุของเทศบาลในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันที่ส่งผลต่อความเสมอภาคทางการศึกษา และศึกษาแนวทางการเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษาผู้สูงอายุของเทศบาลในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน การวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่ม ขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จากตารางของ Krejcie and Morgan จำนวน 419 คน ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงานของเทศบาลในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน จำนวน 42 คน และผู้สูงอายุ จำนวน 377 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise multiple regression) ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


             ผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดบริการสาธารณะทางการศึกษาแก่ผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
(gif.latex?\bar{x}=3.07, S.D.=0.53) และมีค่าเฉลี่ยความเสมอภาคอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.34, S.D.=1.00) เช่นกัน 2) ข้อมูลตามความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานของเทศบาลในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน พบว่า ด้านความต้องการของผู้สูงอายุ (X1) สามารถพยากรณ์ความเสมอภาคของการจัดบริการสาธารณะทางการศึกษาแก่ผู้สูงอายุ (Y) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนข้อมูลตามความคิดเห็นของผู้สูงอายุ พบว่า ด้านความต้องการของผู้สูงอายุ (X1) และด้านการดำเนินการจัดการศึกษา (X2) สามารถพยากรณ์ความเสมอภาคของการจัดบริการสาธารณะทางการศึกษาแก่ผู้สูงอายุ (Y) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการจัดบริการสาธารณะทางการศึกษาที่จะช่วยเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุทำได้โดยจัดทำนโยบายและแผนการจัดการศึกษาผู้สูงอายุให้ชัดเจน ศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุและเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุทุกคนเข้าร่วมอย่างทั่วถึง ด้วยการจัดบริการสาธารณะทางการศึกษาผู้สูงอายุในชุมชน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาผู้สูงอายุให้มากขึ้น ทั้งนี้ผู้บริหารเทศบาลในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันควรจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรทางด้านการจัดบริการสาธารณะทางการศึกษาแก่ผู้สูงอายุอย่างจริงจัง ทั้งทางด้านปริมาณบุคลากรที่ต้องเพียงพอต่อการดำเนินงาน และทางด้านคุณภาพของบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษาให้กับผู้สูงอายุอย่างเพียงพอ

Article Details

How to Cite
Lapasrada Jitwarin ล. . จ., Tawatchai Jitwarin ธ. . จ., & Pattrawat Sriboonjit ภ. . ศ. (2023). การจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาของเทศบาลในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันกับความเสมอภาคทางการศึกษาของผู้สูงอายุ: การจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาของเทศบาลในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันกับความเสมอภาคทางการศึกษาของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 18(3), 79–92. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/264373
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). แผนความเชื่อมโยงบูรณาการสร้างความเสมอภาคเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2562. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2566, จาก https:// www.dop.go.th/download/implementation/th1615191820-1317_0.pdf

กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์ภาคใต้ฝั่งอันดามัน. (2564). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (2566-2570). สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566, จาก http://www.osmsouth-w.moi.go.th/main/page/28

ชมพูนุช หุ่นนาค. (2560). การบริการสาธารณะใหม่เพื่อรับใช้พลเมือง. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 19(1), 125-140.

บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2557). การวิจัยทางสังคมศาสตร์: การประยุกต์ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระครูวิรัติธรรมโชติ สมบูรณ์ บุญฤทธิ์ และพีระพล สงสาป. (2562). โรงเรียนผู้สูงอายุ: การจัดการ ระบบสุขภาวะและสวัสดิการผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคใต้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1339-1362.

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์ และพลอยไพลิน รูปะวิเชตร์. (2561). กลยุทธ์การจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2(3), 17-30.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ.

รพีพรรณ สารสมัคร. (2561). การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีความว้าเหว่. แพทย์นาวี, 45(3), 645-654.

ลภัสรดา เวียงคำ. (2559). การจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุในเมือง. ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 วันที่ 31 มีนาคม 2559, (น. 1005-1112). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์. (2563). สังคมสูงวัย ความท้าทายประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2566, จาก: http://www.dop.go.th/th/know/3/276.

สุเชาวน์ มีหนองหว้า อำนวย บุญรัตนไมตรี หควณ ชูเพ็ญ และ ปธาน สุวรรณมงคล. (2563). การบริการสาธารณะด้านการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้บริบทการกระจายอำนาจในรอบสองทศวรรษ. วารสารการเมืองการปกครอง, 10(3), 288 – 303.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). จำนวนผู้สูงอายุจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยจำแนกตามเพศ ภาค จังหวัด และเขตการปกครอง พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2566, จาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/sector/TH/report/sector_01_11470_TH_.xlsx

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). สภาพการจัดการศึกษาผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สหประชาชาติประเทศไทย. (2564). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2566, จาก: https://thailand.un.org/th/sdgs/4

CMGF Secretariat Thailand. (2563). รายงานวิเคราะห์ข้อมูลสถิติประชากรศาสตร์ 14 จังหวัด และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ พ.ศ.2563. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2566, จาก: https://app.powerbi.comview?r=eyJrIjoiMDY3ZjNhMDMtODY0OC00OTZhLWJiOGItYTQ1ZDdlMGU4NDdjIiwidCI6IjhlNjM0ZTY3LTlkNjYtNDZkMi1hNTI5LWUxYjcwOGM1ZDhiYyIsImMiOjEwfQ%3D%3D

Dalziel, H. L. (2011). The New Zealand: Positive aging Strategy. New Zealand: Ministry of Senior Citizens.

Krejcie, V. R. & Morgan, W. D. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lee, Y. (2015). Older adult education: new public pedagogy in 21st century Taiwan. Australian Journal of Adult Learning, 55(3), 460-476.

Taziev, S.F. (2015). Active Life of the Senior Citizens through Education. International Education Studies, 8(4), 134-142.

Turner, J., Toft, C. & Witte, H. (2008). Lifelong Learning for an Aging Population: Lessons from Scandinavia. Columbia: AARP Office of International Affairs.

Uekawa, K. (2000). Making Equity in 40 National Education Systems. Chicago: University of Chicago.

Ward, N. (2015). Aging and learning disability: Putting older people with learning disabilities on the map. British Journal of Learning Disabilities, 43(4), 243-245.