การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอนคณิตศาสตร์ของนิสิตครู ในสถานศึกษาตามทฤษฎีทวิปริทัศน์และแนวคิดการเรียนรู้ในพื้นที่ที่สามร่วมกับการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอนคณิตศาสตร์ของนิสิตครูในสถานศึกษา ตามทฤษฎีทวิปริทัศน์และแนวคิดการเรียนรู้ในพื้นที่ที่สาม ร่วมกับการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ รูปแบบการวิจัยเป็นกระบวนการวิจัยและพัฒนา ผู้เข้าร่วมวิจัยโดยความสมัครใจ คือ นิสิตครูคณิตศาสตร์ จำนวน 15 ที่กำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ครูพี่เลี้ยง จำนวน 15 คนและอาจารย์นิเทศก์ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินการพัฒนาด้านวิชาชีพครูที่เป็นอัตลักษณ์ของนิสิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สรุปอุปนัย ร่วมกับการหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอนคณิตศาสตร์ของนิสิตครูในสถานศึกษาตามทฤษฎีทวิปริทัศน์และแนวคิดการเรียนรู้ในพื้นที่ที่สามร่วมกับการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. กระบวนการ (7 ขั้นตอน) และ 4. การวัดและประเมินผลสมรรถนะการปฏิบัติการสอนคณิตศาสตร์ และผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 จาก 5.00 2) ผลการใช้รูปแบบ พบว่า นิสิตครูมีการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ที่เป็นอัตลักษณ์ของนิสิตอยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ทั้ง 3 ด้าน ( = 4.51, S.D. = 0.50) คือ 1) ความสามารถในการใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ตามสภาพบริบทที่พบระหว่างการปฏิบัติการสอน ( = 4.50, S.D. = 0.51) 2) ความสามารถในการสร้างและใช้นวัตกรรม และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เข้ากับสภาพบริบทที่พบระหว่างการปฏิบัติการสอน (
= 4.50, S.D. = 0.51) และ 3) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในสภาพบริบทระหว่างการปฏิบัติการสอน (
= 4.53, S.D. = 0.50)
Article Details
References
Announcement of the Teachers' Council of Thailand. (2020). Subject: Details of Knowledge and Professional Experience Standards for Teachers According to the Teachers' Council Regulation on Professional Standards (No. 4), B.E. 2562. Royal Thai Government Gazette, 137(109), 10-14.
Chaona, S., Inprasitha, M., Changsri, N. & Sangaroon, K. (2020). Professional Development of Student Teachers in Higher Education Institutions Based on the Application of Hybridity Theory and Third Space Concept. Journal of MCU Social Science Review, 9(4), 1-13. (In Thai).
Daza, V., Gudmundsdottir, G. B. & Lund, A. (2021). Partnerships as Third Spaces for Professional Practice in Initial Teacher Education: A Scoping Review. Teaching and Teacher Education, 102, 103338.
Faikhamta, C. (2018). Looking at Teacher Education and Professional Development in Thailand Through the Lens of a Teacher Educator. Journal of Education Naresuan University, 20(4), 291-301. (In Thai).
Jermtaisong, R. & Thongthew, S. (2003). The Development of an Instructional Model to Enhance Critical Reflective Instructional Design Ability of Student Teachers. Journal of Education Naresuan University, 15(2), 26-34. (In Thai).
Khammanee, T. (2016). Reflective Teaching. The Journal of the Royal Society of Thailand, 41(2), 210-222. (In Thai).
Phompun, C, (2012). Research and Development of a Teaching Practicum Program for Elementary Education Pre-Service Teachers Based on Hybridity Theory and Third Space Concept. Doctoral dissertation, Ph.D., Chulalongkorn University, Bangkok.
Phompun, C., Thongthew, S. & Zeichner, K. M. (2013). The Use of the Hybridity Theory and the Third Space Concept to Develop a Teaching Identities Enhancement Program for Student Teachers. Silpakorn University Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts, 13(1), 197-213.
Royal Society of Thailand. (2015). Dictionary of Contemporary Education in Royal Society of Thailand Version. Bangkok: Royal Society of Thailand. (In Thai).
Thanaphatchottiwat, S. & Parnichparinchai, T. (2005). Professional Development of Student Teachers in Higher Education Institutions Based on the Application of Hybridity Theory and Third Space Concept. Journal of Graduate Studies in Northern Rajabhat Universities, 5(9), 1-9. (In Thai).
Zeichner, K. M. (2010). Rethinking the Connections Between Campus Courses and Field Experiences in College and University Based Teacher Education. Journal of Teacher Education, 61 (1-2), 89-99.