การพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการเป็นพลเมืองตื่นรู้ที่มีสำนึกสากลสำหรับนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยชุดกิจกรรมบูรณาการบริบทเป็นฐานในรูปแบบออนไลน์ ระบบเปิดผสมผสานการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง

Main Article Content

เจนศึก โพธิศาสตร์
ประธาน ประจวบโชค
สุรยศ ทรัพย์ประกอบ
พัดชา ดอกไม้
ดาวใจ ดวงมณี

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สร้างและตรวจสอบประสิทธิภาพต้นแบบชุดกิจกรรมบูรณาการบริบทเป็นฐานในรูปแบบออนไลน์ระบบเปิดผสมผสานการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2) ประเมินประสิทธิผลต้นแบบชุดกิจกรรมฯ และ 3) ประเมินการพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการเป็นพลเมืองตื่นรู้ที่มีสำนึกสากลสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยชุดกิจกรรมบูรณาการบริบทเป็นฐานในรูปแบบออนไลน์ระบบเปิดผสมผสานการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง กลุ่มที่ศึกษา คือ นักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 4 และ 5 จำนวน 150 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา


        ผลการวิจัย พบว่า ชุดกิจกรรมบูรณาการบริบทเป็นฐานในรูปแบบออนไลน์ระบบเปิดผสมผสานการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงประกอบด้วยคู่มือและบทนำ มีทั้งหมด 5 ชุด ได้แก่ ชุดกิจกรรมที่ 1 พลเมืองรู้เคารพสิทธิชุดกิจกรรมที่ 2 พลเมืองรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ ชุดกิจกรรมที่ 3 พลเมืองที่มีวิจารณญาณ ชุดกิจกรรมที่ 4 พลเมืองมีส่วนร่วม และชุดกิจกรรมที่ 5 พลเมืองผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน และ คณะผู้วิจัย 10 ท่าน มีความเห็นว่าต้นฉบับแบบชุดกิจกรรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (4.92) ค่าประสิทธิภาพจากนักศึกษาชั้นปีที่สี่และปีที่ห้าคละมหาวิทยาลัย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ E1/E2 = 72.63/75.44 อยู่ในเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ประสิทธิผลต้นแบบชุดกิจกรรม มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.3148 นักศึกษาทั้ง 3 กลุ่มมีสมรรถนะหลักด้านความเป็นพลเมืองตื่นรู้ที่มีจิตสำนึกสากลโดยเฉลี่ยสูงขึ้น (ร้อยละ 31.48) และ 3) การพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการเป็นพลเมืองตื่นรู้ที่มีสำนึกสากล พบว่า ผลการเปรียบเทียบคะแนนสมรรถนะก่อนและหลังใช้กลุ่มที่ (1) และ กลุ่มที่ (2) หลังใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แต่ในกลุ่มที่ 3 ที่ไม่ได้รับการพัฒนาจากชุดกิจกรรม นักศึกษาไม่มีผลการพัฒนาสมรรถนะเปลี่ยนแปลงหลังจากได้รับการทดลอง มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลอง 1 กับ กลุ่มทดลอง 3 และกลุ่มทดลอง 2 กับ กลุ่มทดลอง 3 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยพฤติกรรมและผลลัพธ์ด้านการเป็นพลเมืองตื่นรู้ที่มีสำนึกสากล ของกลุ่ม 1 และ 2 เพิ่มขึ้นจากระดับพลเมืองตื่นรู้สู่ระดับสร้างการเปลี่ยนแปลง และปฏิกิริยาและการเรียนรู้ด้านการเป็นพลเมืองตื่นรู้ที่มีสำนึกสากลมีคะแนนเฉลี่ยรวมที่ 4.35 แต่ในกลุ่มที่ 3 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับพลเมืองตื่นรู้

Article Details

How to Cite
โพธิศาสตร์ เ., ประจวบโชค ป. ., ทรัพย์ประกอบ ส. . ., ดอกไม้ พ. . ., & ดวงมณี ด. . . (2025). การพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการเป็นพลเมืองตื่นรู้ที่มีสำนึกสากลสำหรับนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยชุดกิจกรรมบูรณาการบริบทเป็นฐานในรูปแบบออนไลน์ ระบบเปิดผสมผสานการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 20(1), 163–178. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/276217
บท
บทความวิจัย

References

Bartolo, A. & Martinho, G. (2021). What Effect Does the Coaching Model of Professional Development Have on the Building of Teacher Capacity. Doctoral thesis, The University of Melbourne.

Carmona, M., Guerra, R. & Hofhuis, J. (2022). What Does it Mean to be a “Citizen of the World”: A Prototype Approach. Journal of Cross-Cultural Psychology, 53(6), 547-569.

Casanova-Fernández, M., Joo-Nagata, J., Dobbs-Díaz, E. & Mardones-Nichi, T. (2022). Construction of Teacher Professional Identity Through Initial Training. Education Sciences, 12(11), Article 822.

https://doi.org/10.3390/educsci12110822

Ciptaningtyas, D. K., Wiputra, C., Felix-Otuorimuo, I. & Müller, C. (2020). Contextual Teaching and Learning to Improve Conceptual Understanding of Primary Students. TER: Teaching Education Research Journal, 2(2), 71-78.

Dahal, G. (2023). Exploring Mentoring Practice for in-Service Teachers’ Professional Development. KMC Journal, 5(1), 189-204.

Jackson, D., Fleming, J. & Rowe, A. (2019). Enabling the Transfer of Skills and Knowledge Across Classroom and Work Contexts. Vocations and Learning, 12(3), 459-478.

Kamarudin, M. B. & Abd Wahab, N. (2022). Coaching and Mentoring Among SISC+: Their Roles and Responsibilities, Successes and Challenges, and their Influence on the Teaching and Learning. International Journal of Academic Research in Progressive Education and Development, 11(3), 1336-1348.

Kampong, S., Prajandee, D. & Kewara, P. (2019). A Study of English Teacher Identity Through Borderland Discourse: Retrospective Negotiation Between Personal and Professional Identities. Journal of Education, 30(3), 129-144. (In Thai).

Kaya, F. N. (2023). Identity (Re)Construction of Turkish Pre-Service Language Teachers During the Practicum. International e-Journal of Educational Studies, 7(14), 243-256.

Memorial, R. (2024). Provision of Coaching and Mentoring Experiences: Narratives of Public Elementary School Teachers. International Journal of Innovative Science and Research Technology. 9(5), 454-477.

Morgan, H. (2022). Alleviating the Challenges with Remote Learning During a Pandemic. Education Sciences, 12(2), 109.

Ochoa, A. G. (2014). Ciudadanos Del Mundo: Desafiando Las Fronteras. Perifèria: Revista de Recerca i Formació en Antropologia, 19(2), 77-100.

Promma, N. & Songserm, U. (2024). Phenomenon-Based Learning Management Concepts and Directions for Appropriateness in Thai Educational Context. Journal of Education, Chiang Mai Rajabhat University, 3(2), 1-15. (In Thai).

Putri, C., Haryanto, & Sulistyo, A. I. (2019). The Application of Contextual Teaching and Learning in Natural Science to Improve Student’s HOTS and Self-Efficacy. Journal of Physics: Conference Series, 1233(012106). Retrieved October 17, 2024, from https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1742-6596/1233/1/012106/pdf

Ranbir. (2024). Educational Technology Integration: Challenges and Opportunities. Innovative Research Thoughts, 10(2), 75-79.

Richter, J. L., Leire, C., Arnfalk, P., McCormick, K. & Rodhe, H. (2015). Greening the Global Classroom: Experiences using MOOCs to Advance Sustainability Education. In D. Huisingh (Ed.), Global Cleaner Production and Sustainable Consumption Conference Proceedings. International Institute of Minnesota.

Rodrigues, G. O., Johann, D. A., Falkembach, M. M., Antunes, M. C., Lopes, L. F. D., Camargo, M. E. & Bizotto, B. L. S. (2024). Disruptive innovation in education. Pensamento & Realidade, 38(2), 121-141.

Watayotha, K. & Chaijaroen, S. (2019). Design and Development of a Constructivist Web-Based Learning Environment with Augmented Reality to Enhance Analytical Thinking on the Topic of Elements of Computer Systems for Grade 7 Students. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 12(2), 1-20. (In Thai).

Zubaidah, B., Mobarak, A., Wahi, W. & Yamat, H. (2018). A Review of Teacher Coaching and Mentoring Approach. The International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 8(8), 504-524.