ข้อสังเกตบางประการและแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนดนตรีในระดับอุดมศึกษา กรณีศึกษาหลักสูตรดนตรีศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยนอร์ธเท็กซัส และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Main Article Content

สงกรานต์ สมจันทร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการจัดการเรียนการสอนดนตรีของมหาวิทยาลัยนอร์ธเท็กซัส ข้อสังเกตและแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนดนตรีในระดับอุดมศึกษา หลักสูตรดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนการสอนดนตรีที่มหาวิทยาลัยนอร์ธเท็กซัส สาขาวิชาดนตรีศึกษา มีความพร้อมและสามารถผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศ จากการสังเกตการณ์สอนรายวิชาวิธีการและสื่อการเรียนรู้สำหรับการสอนเครื่องดนตรีในโรงเรียนระดับประถมศึกษา พบว่า มีการสอดแทรกเนื้อหาทางประวัติศาสตร์และสังคมวัฒนธรรม มีการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างเรียน ทั้งนี้ เป็นสถาบันที่มีความพร้อมทั้งด้านอาคารสถานที่ ครุภัณฑ์ดนตรี ห้องสมุดและสื่อการเรียนรู้ ตลอดจนเทคโนโลยีทางดนตรี มีการสนับสนุนจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่มีเป้าหมายชัดเจนที่จะพัฒนาดนตรีของสถาบันให้มีความเป็นเลิศ ในบริบทของไทยโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาด้านต่าง ๆ ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศได้ โดยเฉพาะความเข้าใจธรรมชาติของการเรียนการสอน และการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ต้องมีแผนการระยะยาวและมีการนำแผนการไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กัลย์ธีรา สุภนิธิ, และ ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล. (2561). การเปรียบเทียบหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4), 20-39.

คณิเทพ ปิตุภูมินาค. (2562). กระบวนทัศน์การศึกษาดนตรีระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทยในศตวรรษที่ 21. เชียงใหม่: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เคลน บุณยานันต์, และ อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์. (2563). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารครุพิบูล, 7(2), 243-258.

ฌานิก หวังพานิช. (2559). แนวทางการจัดการชั้นเรียนเพื่อการเรียนการสอนดนตรีในระดับอุดมศึกษา. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(1), 2-10.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (3 สิงหาคม 2554). ทัศนะเกี่ยวกับดนตรีศึกษา และการศึกษาในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก คุยกับดนตรี: http://narutt-suttachitt.blogspot.com/2011/08/blog-post.html

ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ, ภาคภูมิ เตี๋ยวงษ์สุวรรณ์, พูนสุข กุหลาบวงษ์, และ สมภาศ สุขชนะ. (2562). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนพื้นฐานทางดนตรีรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือกัน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(1), 68-81.

ธีรวิทย์ กลิ่นจุ้ย, และ สยา ทันตะเวช. (2565). สถานภาพของรายวิชาด้านพหุวัฒนธรรมดนตรีในหลักสูตรดนตรีศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 16(1), 155-165.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. (6 มีนาคม 2562). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง), 12. เข้าถึงได้จาก ราชกิจจานุเบกษา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/056/T_0012.PDF

วรภพ ประสานตรี, มนัส วัฒนไชยยศ, และ อนุรักษ์ บุญแจะ. (2557). การบริหารจัดการห้องเรียน ครุภัณฑ์ ของสาขาดนตรีสากล มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 9(1), 100-115.

สถาบันจัดอันดับด้านการศึกษา. (2565). จัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Thailand Education Ranking. เข้าถึงได้จาก สถาบันจัดอันดับด้านการศึกษา Thailand Education Ranking (TER): https://thaitopu.com/ter/

สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เข้าถึงได้จาก สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: https://www.academic.cmru.ac.th/cmrucourse/

สิทธิพร สวยกลาง. (2553). การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตกในหลักสูตรดนตรีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกรี เจริญสุข. (12-15 มีนาคม 2560). เมื่อความไพเราะของโลกมารวมอยู่ที่ศาลายา แม้แต่เทวดาก็อยากฟัง. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ, 3(37), หน้า 243.

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2565). รายงานการประเมินตนเอง (มคอ. 7) การประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2564. เชียงใหม่: หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา.

Division of Music Education. (2011, April). General, Choral and Instrumental Music (teacher certification), BM. Retrieved from Undergraduate Program: https://musiced.music.unt.edu/sites/default/files/2021%20MUTL%20-%20Elementary.pdf