ถอดบทเรียนกระบวนการและปัจจัยความสำเร็จของการจำหน่ายสินค้าและผลงานด้านศิลปะในเชิงพาณิชย์ของศิลปินในกลุ่มจังหวัดล้านนา

Main Article Content

สมคิด นันต๊ะ
บัณฑิกา จารุมา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าของกลุ่มศิลปินในกลุ่มจังหวัดล้านนา 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยของการจำหน่ายสินค้าและผลงานด้านศิลปะในเชิงพาณิชย์ ของศิลปินในกลุ่มจังหวัดล้านนา และ 3) เพื่อจัดกระบวนการถอดบทเรียนปัจจัยความสำเร็จการพัฒนาสินค้าต้นแบบ ของศิลปินในกลุ่มจังหวัดล้านนาสำหรับใช้ในการขยายผล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิจัยในเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาวิจัยการแบบผสมผสาน มีการเลือกพื้นวิจัยแบบเจาะจง เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 200 คน ด้วยการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่าง พร้อมกับสัมภาษณ์เจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ กลุ่มผู้ผลิตสินค้า กลุ่มลูกค้า ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มองค์กรทางภาครัฐ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าของกลุ่มศิลปินในกลุ่มจังหวัดล้านนา การตัดสินใจซื้อมากที่สุด ได้แก่ สินค้ามีรูปแบบที่เป็นศิลปะเชิงเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น นิยมซื้อสินค้าให้แก่ตนเองเพื่อสนองความต้องการและความจำเป็นพื้นฐาน 2) ด้านปัจจัยของการจำหน่ายสินค้าผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อสินค้า รูปแบบ วัตถุดิบผลิตสินค้าเหมาะสมกับราคา การจัดจำหน่ายสะดวก และมีการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการตลาด และ 3) ด้านการถอดบทเรียนแล้วพบว่า รูปแบบพระพุทธรูปไม้เน้นความเป็นศิลปะแบบใหม่ที่มีความสวยงามเพื่อการพาณิชย์ เครื่องเงินเน้นความเป็นเอกลักษณ์การท่องเที่ยวน่าน ผ้าหม้อฮ่อมผลิตสินค้าที่มีรูปแบบสวยงาม สอดคล้องกับความทันสมัย ตุงโคมลำพูนเน้นสร้างมูลค่าทางจิตใจ ประเพณี และผลิตภัณฑ์ลายเวียงกาหลง ผลิตเพื่อสร้างมูลค่าทางประวัติศาสตร์ในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ ดาราเรือง. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ทางการตลาดวิสาหกิจชุมชนบ้านเขาแหลม จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(100). 130-143.

นวอร เดชสุวรรณ์. (2562). รายงานนโยบายการเงินไตรมาส 1 : ฉบับเดือนมีนาคม 2562. แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนธันวาคมและไตรมาสที่ 1 ปี 2562 เผยแพร่ 30 เมษายน 2562.

ประภาพรรณ อุ่นอบ. (2552). วิทยากรกระบวนการเงื่อนไขสำคัญของการถอดบทเรียนแบบวิเคราะห์ หลังการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : กรมสุขภาพจิต.

พระครูวิมลศิลปกิจ (เรืองฤทธิ์ แก้วเปียง). (2561). ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง : ลายเวียงกาหลงสู่เป้าหมายอาชีพที่ยั่งยืนของชุมชน. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มโน พิสุทธิรัตนานนท์. (2547). สุนทรียวิจักษณ์ในจิตรกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

วินัย ปราบริปู. (2552). จิตรกรรมฝาผนังเมืองน่าน. กรุงเทพมหานคร : 21 เซ็นจูรี่จำกัด.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่ฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2552. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร.

ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ และคณะ. (2555). ปัจจัยความสำเร็จที่มีต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะของศิลปินไทย: กรณีศึกษาตลาดศิลปะร่วมสมัยในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย นิวยอร์ก ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.

สมถวิล วิจิตรวรรณา และคณะ. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : เจริญดีมั่นคง การพิมพ์.

แสนศักดิ์ ศิริพานิช. (2547). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกพื้นเมืองเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืนในพื้นที่ภูเก็ต พังงา และกระบี่. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต.