มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการก่ออาชญากรรมซ้ำในคดีอุกฉกรรจ์

Main Article Content

ยุทธนา ศรีธรสุทธิ์
สุนทรี บูชิตชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมาย รูปแบบและลักษณะของการกระทำผิดซ้ำ 2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายของไทย และต่างประเทศ ในการป้องการการกระทำผิดซ้ำในคดีอุกฉกรรจ์ กรณีที่มีการพักการลงโทษ การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากตำรา กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ


ผลจากการศึกษาพบว่า การเกิดคดีอาชญากรรมซ้ำในคดีอุกฉกรรจ์มีสาเหตุประการหนึ่งมาจากการพักโทษผู้ต้องขังตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 และกฎกระทรวงกำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจำคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562 ทำให้ผู้ต้องขังพ้นโทษก่อนกำหนดตามคำพิพากษา ปัญหาในการใช้มาตรการเพื่อป้องกันการก่ออาชญากรรมซ้ำในคดีอุกฉกรรจ์ ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากกระบวนการการพักโทษยังคงเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร โดยอยู่ในอำนาจของคณะทำงานพิจารณาวินิจฉัยการพักการลงโทษประจำเรือนจำ                             และคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยการพักการลงโทษ และคำสั่งของคณะอนุกรรมการฯ ถือเป็นที่สุด ด้วยเหตุนี้ การพักการลงโทษจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงโทษที่กำหนดโดยศาลยุติธรรม และเป็นการลดโทษจำคุกจากที่ศาลได้กำหนด ซึ่งอาจทำให้ผู้กระทำความผิดที่รับโทษอยู่ในเรือนจำ ออกมาใช้ชีวิตตามปกติในสังคมภายนอก แต่กระบวนการพิจารณาการพักโทษนั้น ไม่มีส่วนร่วมจากฝ่ายผู้เสียหายและผู้ต้องขัง ทั้งความไม่รัดกุมของการกำหนดเงื่อนไข และการติดตามผู้ที่ได้รับการพักโทษอย่างเป็นระบบตามหลักอาชญาวิทยา เฉกเช่นในต่างประเทศที่ได้ศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวง กำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาดและเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจำคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนที่ 3 ก หน้า 8 (14 มกราคม 2563).

กรมราชทัณฑ์. (2562). กรมราชทัณฑ์รับกรณีลดโทษสมคิด พุ่มพวง ฆาตกรต่อเนื่องหลังก่อเหตุซ้ำ มีปัญหา. เรียกใช้เมื่อ 6 สิงหาคม 2563 จาก https://news.mthai.com/general-news/783471.html.

เกียรติภูมิ แสงศศิธร. (2533). กระบวนการกำหนดโทษจำเลยคดีอาญา : เปรียบเทียบของไทยกับต่างประเทศ. ใน วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เดลินิวส์ออนไลน์. (2562). “สู่เหยื่อรายที่ 6 ย้อนตำนาน “แจ็ค เดอะริปเปอิร์” เมืองไทย”. เรียกใช้เมื่อ 6 สิงหาคม 2563 จาก https://www.dailynews.co.th/crime/747254.

ราชกิจจานุเบกษา . (2539). พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539. เล่ม 113 ตอนที่ 60 ก หน้า 1-2 (14 พฤศจิกายน 2539).

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539. (2539). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 60 ก หน้า 1-2 (14 พฤศจิกายน 2539).

สุพิชฌาย์ ศิริวัฒนา สีตะสิทธิ์. (2558). แนวทางที่เหมาะสมในการลงโทษและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำในกระบวนการยุติธรรมไทย. ใน นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

The MATTER. (2562). ฆาตกรต่อเนื่องสังหารใคร? ทำไมถึงถูกปล่อยตัวได้? ย้อนรอยคดีฆาตกรรมต่อเนื่อง ‘สมคิด พุ่มพวง. เรียกใช้เมื่อ 6 สิงหาคม 2563 จาก https://shorturl.asia/NYxOv.