การวิเคราะห์ภาษาบาลีในภาษาไทย

Main Article Content

วิโรจน์ คุ้มครอง
พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า การใช้ภาษาบาลีในภาษาไทยมีทั้งทางวิชาการและในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการสื่อสารโดยการพูดและการเขียนซึ่งมีคำภาษาบาลีปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะคนไทยได้รับอิทธิพลทางภาษามาจากภาษาบาลีที่เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทย สาเหตุจากการยอมรับนับถือศาสนาพุทธของคนไทยเป็นสำคัญ อีกทั้งคนไทยยังนิยมใช้ภาษาบาลีในการตั้งชื่อซึ่งเป็นสิ่งสมมติขึ้น แต่ถ้าตั้งชื่อให้เหมาะสมกับจริตและอุปนิสัยของบุคคลนั้น ชื่อก็จะกลายเป็นสิ่งสำคัญและเป็นอัตลักษณ์ของผู้นั้น และสามารถนำประโยชน์สุขมาให้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่วนการวิเคราะห์คำบาลีที่ใช้ในภาษาไทยปัจจุบัน ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ภาษาไทยในการ พูด สนทนา และการสื่อสารให้เป็นภาษาไทยในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง และมั่นใจได้ เช่น คำ กาย เป็นต้น ดังนั้น การเรียนรู้ภาษาบาลีกับภาษาไทยอย่างรู้ลึก รู้รากศัพท์ และรู้ความหมายที่ถูกต้องจึงมีคุณค่าแก่การศึกษาอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณาจารย์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาษาไทย 3. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
ทองย้อย แสงชินชัย. บาลีวันละคำ. กรุงเทพมหานคร : รุ่งแสงการพิมพ์, 2557.
พระกรรมทีปิกาจารย์.ตั้งชื่อตามธาตุตรงตามจริต. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, 2558.
พระคันธสาราภิวงศ์ (แปลและอธิบาย). สุโพธาลังการมัญชรี. กรุงเทพมหานคร: ไทยรายวันการพิมพ์, 2546.
พระเทพปริยัติโมลี (ทองดี สุรเตโช). หลักการแต่งฉันท์ภาษามคธ ป.ธ. 8. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง, 2532.
พระมหาโยธิน โยธิโก. บาลีไวยากรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา, 2555.
พระอมราภิรักขิต (เรียบเรียง). อธิบายบาลีไวยากรณ์ สมัญญาภิธาน และสนธิ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2538.
พระอัคควังสเถระ (รจนา) พระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ตรวจชำระ). สัททนีติธาตุมาลา คัมภีร์หลักบาลีมหาไวยากรณ์. กรุงเทพมหานคร: หจก.ไทยรายวันการพิมพ์, 2546.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2534.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.
วิสันติ์ เกาะแก้ว. การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2529.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคที่ 2 อาขยาต และกิตก์. พิมพ์ครั้งที่ 37. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2544.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. บาลีไวยากรณ์ วากยสัมพันธ์ ภาคที่ 3 ตอนต้น. พิมพ์ครั้งที่ 28. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2538.