ภาษาบาลี : ภาษารักษาพระพุทธพจน์

Main Article Content

อุทัย สติมั่น
วิโรจน์ คุ้มครอง
พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า ภาษาบาลี หมายถึง ภาษาที่รักษาพระพุทธพจน์ เป็นภาษาที่มีมาตั้งแต่อดีตกาลประมาณ 2500 ปีมาแล้ว เป็นภาษาถิ่นภาษาหนึ่งที่ใช้พูดกันในแถบแคว้นมคธ เรียกว่า มาคธภาษา ตามชื่อแคว้น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น พระองค์ได้ทรงใช้ภาษาบาลีเป็นภาษาในการประกาศพระพุทธศาสนา ส่วนการบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าในรูปของภาษาบาลีแบ่งออกเป็น 1) ยุคธรรมวินัย เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา จนถึงปรินิพพานรวมเวลา 45 ปีพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมวินัยด้วยมุขปาฐะ กล่าวคือทรงแสดงธรรมด้วยปากเปล่า พระสาวกก็ทรงจำด้วยมุขปาฐะ 2) ยุคพระไตรปิฎก เริ่มตั้งแต่หลังพุทธปรินิพพาน จนถึงการทำสังคายนาครั้งที่ 3 ประมาณ พ.ศ. 235 รวมถึงผลของสังคายนาครั้งที่ 3 ด้วย ยุคนี้ยังใช้วิธีมุขปาฐะอยู่ 3) ยุคหลังพระไตรปิฎก พระเถระทั้งหลายได้แต่งคัมภีร์อธิบายความหมายในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้นแบ่งได้ 6 ยุคเช่น ยุคอรรถกถา และยุคฎีกาเป็นต้น ฉะนั้น ภาษาบาลีมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพระกาศพระพุทธศาสนา เป็นภาษาที่ไม่เสื่อมไปตามกาลเวลา เป็นภาษาที่รักษาพระพุทธศาสนา เป็นภาษาที่แสดงธรรมของพระพุทธเจ้าที่อยู่ในรูปของพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกาเป็นต้นนั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.พระไตรปิฎกภาษาบาลี.ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ.2500.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506.
_______. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
________. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, โรงพิมพ์วิญญาณ, 2532 - 2534.
กาญจนา นาคสกุล.ศ.ดร. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในกรมศิลปากร-มรดกไทย-มรดกโลก ฉบับที่ 2668 ปีที่ 52 ประจำวันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2548.กราฟฟิคฟอร์แมท (ไทยแลนด์) จำกัด. 2548.
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วรรณคดีบาลี (Pali Literature). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยรายวันการพิมพ์. 2552.
พระอัคควังสเถระ (รจนา) พระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.9 MA.Ph.D. ตรวจชำระ). สัททนีติธาตุมาลา คัมภีร์หลักบาลีมหาไวยากรณ์. กรุงเทพมหานคร: หจก.ไทยรายวันการพิมพ์. 2546.
พระอัคควังสเถระ (รจนา) พระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.9 MA.Ph.D. ตรวจชำระ). สัททนีติสุตตมาลา คัมภีร์หลักบาลีมหาไวยากรณ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิทักอักษร. 2545.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. สัททานุกรมพระไตรปิฎกเชิงวิจัย ฉบับบาลี-ไทย เล่มที่ 4. กรุงเทพมหานคร: หจก.ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์. 2560.
เสนาะ ผดุงฉัตร. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณคดีบาลี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.2532.