ศึกษารูปแบบการพิจารณาขันธ์ ๕ ในเผณปิณฑูปมสูตร

Main Article Content

พระสมหวัง สติสมฺปนฺโน

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของสารนิพนธ์เรื่อง “ศึกษารูปแบบการพิจารณาขันธ์ 5 ในเผณปิณฑูปมสูตร” มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างเนื้อหาและหลักธรรมในเผณปิณฑูปมสูตร และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการพิจารณาขันธ์ 5 ในเผณปิณฑูปมสูตร โดยมีระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ จากผลการวิจัยพบว่าเผณปิณฑูปมสูตร เป็นพระสูตรว่าด้วยอุปมาขันธ์ 5 ว่าด้วยรูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ สัญญาอุปมาด้วยพยับแดด สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย และวิญญาณอุปมาด้วยกล สิ่งเหล่านี้ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า เมื่อนั้นกายนี้อันเขาทอดทิ้งแล้วย่อมเป็นเหยื่อแห่งสัตว์อื่น เป็นกลสำหรับหลอกลวงคนโง่ สาระย่อมไม่มีในเบญจขันธ์นี้ ผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติพิจารณาขันธ์ทั้งหลาย ทั้งกลางวันและทั้งกลางคืน ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาที่ปรากฏในเผณปิณฑูปมสูตร เป็นการกำหนดรู้ความเป็นจริงของขันธ์ 5 เพื่อความรู้แจ้ง เห็นรูปนามอย่างชัดเจน คือตั้งแต่ นามรูปปริจเฉทญาณ จนบรรลุมรรคญาณและผลญาณในที่สุด เรียกว่าปัญญาวิมุตติ ในเผณปิณฑูปมสูตรซึ่งบุคคลผู้ที่ปฏิบัติตามแนวทางของวิปัสสนาภาวนาย่อมได้รับผลของการปฏิบัติธรรมที่ตนได้ประพฤติปฏิบัติ โดยการเห็นลักษณะของไตรลักษณ์ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดจากอุปาทานขันธ์ 5 จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลส บรรลุเป็นพระอริยบุคคลในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นางพรพิมล จอโภชาอุดม, แนวคิดเรื่องวิญญาณเชิงพุทธปรัชญา, วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๒ , หน้าบทสรุป.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ, ๒๕๔๖.
พระพุทธโฆษาจารย์, คัมภีร์วิสุทธิมรรค, แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจอาสภมหาเถระ), พิมพ์ครั้งที่ ๙, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง, ๒๕๔๖.
พระอนุรุทธเถระ, อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี, แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทประยูรสาส์นไทย, ๒๕๕๕.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.