ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 กับบทบาทการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคกลาง

Main Article Content

มุกดา ลอยนภา
ช่อเพชร เบ้าเงิน
อรสา จรูญธรรม

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21  ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคกลาง  ศึกษาบทบาทการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคกลาง  และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 กับบทบาทการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคกลาง เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า 1)  ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคกลางมีภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21  โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้านตามลำดับจากค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปน้อยที่สุด  พบว่า  มีภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21  ด้านคุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านวิสัยทัศน์อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการสื่อสารอยู่ในระดับมาก ด้านความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก และด้านความมุ่งมั่น  พากเพียรอยู่ในระดับมาก 2)  ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคกลางมีบทบาทการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า มีบทบาทการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงตามลำดับจากค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปน้อยที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านกายภาพ และด้านการบริหารจัดการ 3)  ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมากกับบทบาทการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา บทบาทการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการ   บทบาทการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาด้านกายภาพ   และบทบาทการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาด้านการจัดการเรียนการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). “แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 Fundamental Concepts and Theories for being Leaders of School Administrators in the 21st century”, วารสารบริหารการศึกษา. 12 (1): 1-9.
ไทยทริบูน. (2559). รัฐบาลกระตุ้นคนไทยใส่ใจทรัพยากรธรรมชาติเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทย
[ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: http://thaitribune.org/contents/detail/308?content_id= 24354&rand=1480854849. เมื่อ 16 มีนาคม 2563.
พิชญ์สินี จิตต์ว่องไว. (2557). การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552) องค์การและการบริหารจัดการ. นนทบุรี: ธิงค์บียอนด์บุ๊คส์.
“พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553” (2553, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก. หน้า 2, 28.
“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560” (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจา นุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 13, 15.
วัฒนธรรม สุวัณณะสังข์. (2555). “การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก:
https://sites.google.com/site/miiangbangkok/kar-xnuraks-sing-waedlxm.
เมื่อ 16 ธันวาคม 2561.
วิจารณ์ พานิช. (2552). การศึกษาไทย 2552-2553 สู่เส้นทางแห่งจาราริยบูชา “ครูเพื่อศิษย์”.
กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
สุปรีชา หิรัญโร. (2548). การวางแผนการพัฒนาโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ:
ชวนพิมพ์.