บูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

Main Article Content

ปิยะนุช ศรีสรานุกรม

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “บูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการทางศาสนาเพื่อส่งเสริมการศึกษา 2) เพื่อศึกษาหลักการทางปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษา 3) เพื่อบูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ด้านบูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ศาสนามีบทบาทและความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์ วัฒนธรรมและสังคม ทำหน้าที่อบรมขัดเกลาคนในสังคมให้มีหลักเกณฑ์ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจของคน กำหนดรูปแบบแนวทางการแสดงออกของมนุษย์ ส่วนหลักการพุทธปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษา ได้แก่ ไตรสิกขา คือ ศีลสิกขา สมาธิสิกขาและปัญญาสิกขา 2) ปรัชญาทำหน้าที่หาคำตอบความจริงด้วยหลักเหตุผลและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยแล้วแต่ว่าจะสนใจที่จะศึกษาในเรื่องใดในฐานะปรัชญาการศึกษาคือ สารัตถนิยม นิรันตรนิยม พิพัฒนาการนิยม ปฏิรูปนิยม และอัตถิภาวนิยม 3) จุดมุ่งหมายของการศึกษาหลักสูตร วิธีการเรียนการสอนของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามารถนำเอาหลักไตรสิกขาอันประกอบด้วยอธิศีลสิกขา ที่ช่วยควบคุมทางกาย และวาจา อธิจิตตสิกขา ช่วยให้ผู้เรียนควบคุมจิตใจตนเองได้ และอธิปัญญาสิกขา ช่วยทำให้ผู้เรียนที่พร้อมจะเผชิญปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ และ 4) องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับรูปแบบการบูรณาการหลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจได้แก่ “MWA Model”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กีรติ บุญเจือ. ปรัชญาหลังนวยุค แนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์, 2525.
คึกฤทธิ์ ปราโมช. ลัทธิและนิกาย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชัยฤทธิ์, 2524.
จิตรกร ตั้งเกษมสุข. พุทธปรัชญากับปรัชญาการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เคล็ดไทย, 2525.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์, รศ. ญาณวิทยา (ทฤษฎีความรู้). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542.
เดือน คำดี. ศาสนาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2531.
ฟื้น ดอกบัว. ปวงปรัชญากรีก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2532.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธวิธีในการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม, 2542.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตโต). พุทธศาสนากับปรัชญา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป, 2533.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. ปรัชญาการศึกษาและปรัชญาการศึกษาของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2523.
ราชกิจานุเษกษา เล่ม 121/ตอนที่ 18 ก/หน้า 1/14 กุมภาพันธ์ 2547.
ราชกิจานุเษกษา เล่ม 125/ตอนที่ 100 ก/หน้า 28/19 กันยายน 2551.
ลักษณวัต ปาละรัตน์, รศ.ดร. ญาณวิทยา (ทฤษฎีความรู้). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2552.
วิทย์ วิศทเวทย์. ปรัชญาทั่วไป. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์, 2523.
วศิน อินทสระ. มนุษย์และแนวทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักทางพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์, 2528.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. ประวัติศาสตร์ศาสนา. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2532.
สุเชาวน์ พลอยชุม. พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552.
สุลักษณ์ ศิวรักษ์. ปรัชญาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เคล็ดไทย, 2517.
Bouquet, A.C. Comparative Religion. London: Penguin Books, 1954.
Charies S. Braden. The World's Religions. New York: Abingdon Press, 1994.
Emile Durkheim. The Elementary Form of the Religious Life. London: Allen & Unwin, 1964.
George F. Kneller. Introduction to the Philosophy of Education. New York: John Wiley & Sons Inc., 1964.
Reese, W.L. Dictionary of Philosophy and Religion Eastern and Western and Thought. London: Humanities Press, 1980.
Theodore Brameld. Philosophy of Education in the Culture Perspective. New York: The Dryden Press, 1958.
Wingo. Philosophies of Education : An Introduction. New Delhi: Steringpublishers private limited, 1975.