รูปแบบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
รูปแบบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) โดยการเก็บข้อมูลทั้ง
เชิงปริมาณ (Quantitative) และเชิงคุณภาพ (Qualitative) มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและความคาดหวังทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนความคาดหวังการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2) องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลรูปแบบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ หลักความถูกต้องและชอบธรรม หลักการมีส่วนร่วมและความเสมอภาค หลักความตระหนักและรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่าและยั่งยืน ซึ่งองค์ประกอบมีความสามารถในการอธิบายการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี ได้ร้อยละ 72.015 และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2552), ทศธรรม ตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพรส.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560), แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ความร่วมมือด้านการศึกษากับหน่วยงานภายใต้สหประชาชาติ. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2562, จาก https://www.bic.moe.go.th/index.php/ component/content/article/117-bicmovement/1991-2013-10-14-23-08-53-177?Itemid=498.
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (2553).พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. (2553). สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2562, จาก http:/wiki.kpi.ac.th/index.php?title=