ปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาด้านการเรียนการสอนในยุคออนไลน์

Main Article Content

ประภัสสร ชโลธร
อัจฉราพร ฉากครบุรี

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านการเรียนการสอนในยุคออนไลน์ อาจารย์มีหน้าที่ให้ความรู้ทางวิชาการและฝึกอบรมให้นักศึกษามีคุณธรรมและจริยธรรม ที่เป็นหน้าที่สำคัญของอาจารย์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของกัลยาณมิตร คือ (1) อาจารย์จะต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและเป็นแม่พิมพ์ต้นแบบแก่ศิษย์ที่เรียกว่า ปิโย (2) ความน่าเคารพ ต้องประพฤติสมควรแก่ฐานะ มีแนวทางการปฏิบัติตนและหลักการดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้องชอบธรรม ที่เรียกว่า ครุ (3) อาจารย์คือบัณฑิต เป็นที่ยกย่อง ในฐานทรงคุณ คือ ความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ที่เรียกว่า ภาวนีโย (4) อาจารย์ต้องรู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน และเป็นที่ปรึกษาที่ดีของศิษย์ ที่เรียกว่า วตฺตา จ (5) อาจารย์จะต้องมีความอดทนต่ออุปสรรคในทุกด้าน มีจิตใจที่หนักแน่น สามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ด้วยจิตใจที่มั่นคง ที่เรียกว่า วจนกฺขโม (6) อาจารย์สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป เป็นคุณสมบัติของกัลยาณมิตรอย่างดีเลิศ คือ ความเป็นผู้กระทำได้จริงในสิ่งที่สอนแก่ผู้อื่น หรือได้บรรลุสำเร็จนั้น ๆ ด้วยตนเองแล้วจึงสอนเรื่องนั้นแก่ผู้อื่น ที่เรียกว่า คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา และ (7) ไม่แนะนำหรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย อาจารย์เป็นผู้นำและแบบอย่างของสังคม เป็นบุคคลที่สังคมยกย่องเลื่อมใส อาจารย์จึงต้องเป็นคนที่บริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ เป็นอาจารย์อยู่ทุกขณะ ทุกหนทุกแห่ง จงช่วยกันกระทำความดีให้เด็กเห็นเป็นเยี่ยงอย่าง เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ศิษย์อย่างเคร่งครัดเพื่อศิษย์จะได้มีความเชื่อถือศรัทธาและถือปฏิบัติตามด้วยความรัก ที่เรียกว่า โน จฏฺฐาเน นิโยชเย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. (2539). เมืองไทยในความใฝ่ฝันของนักคิดอาวุโส. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ]. 2539. รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

จุไรรัตน์ เปรมวรเวทย์. (2556). พฤติกรรมทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ณรงค์ เส็งประชา. (2554). เทคนิคการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทักษะและทัศนคติ. กรุงเทพมหานคร: รำไทยเพรส.

ถาวร สารวิทย์.(2523). อุตสาหกรรมศิลป์ สำหรับอาจารย์ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). ราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊กส์พับลิเคชั่นส์.

พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ). (2538). วาทธรรมปัญญานันท. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระธรรมปิฎก. (2542). ธรรมนูญชีวิต (ฉบับชาวบ้าน). กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

---------. (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 36. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2548). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟเคอร์มีสท์.

พิพัฒน์ วิเชียรสุวรรณ. (2540). แผนการศึกษาแห่งชาติแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: เดอะบุคส์.

พุทธทาสภิกขุ. (ม.ป.ป.). ทิศธรรม ธรรมะที่เป็นทางเดินของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.

ยุพิน พิพิธกุล และอรพรรณ ตันบรรจง. (2536). เทคโนโลยีในการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน.

ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2543). เทคนิคการสอน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิภาพร มาพบสุข. (2554). หลักมนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคซั่น.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2531). ทศบารมีทศพิธราชธรรม. ในมหาอุดมมงคลวโรกาสพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช. วัดบวรนิเวศวิหารขอพระราชทานถวายเฉลิมพระเกียรติ.

สุคนธ์ ภูริเวทย์. (2544). การออกแบบการสอน Instructional design. กรุงเทพมหานคร:

Green, Arnold w. (2010). The dynamic nurse-patient relationship: function process and principle. New York: G.P. Putnams Sons Press.