แนวทางการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูผู้สอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในสถานศึกษาอาชีวศึกษา

Main Article Content

พิมพ์ชนก กุรุวรรณ์
นลินรัตน์ รักกุศล
อุทุมพร อินทจักร์
อุทุมพร อินทจักร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูผู้สอนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาของเขตกรุงเทพมหานคร 2.เสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูผู้สอนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในสถานศึกษาอาชีวศึกษาของเขตกรุงเทพมหานคร โดยกระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ครูผู้สอน 112 คน และผู้อำนวยการสถานศึกษาอาชีวศึกษา 15 แห่ง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล 7 คน ใช้การสนทนากลุ่มเก็บข้อมูล ใช้สถิติวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าผู้อำนวยการสถานศึกษาประเมินสภาพ ปัจจุบันอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และสภาพที่พึงประสงค์ทุกประเด็นอยู่ระดับมากที่สุด ครูผู้สอนประเมินสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมากทุกประเด็น ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ทุกประเด็นอยู่ในระดับมากที่สุด แนวทางการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ พบว่า ผู้อำนวยการสถานศึกษา มี 2 ด้าน ได้แก่ 1) ควรเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนมีส่วนร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของสถานศึกษา และ 2) ควรสนับสนุน และจัดสรรทรัพยากรให้มีความเหมาะสม ส่วนครูผู้สอน มีทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1) ควรมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของสถานศึกษา 2) ควรปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงตรงตามเวลา 3) ควรมีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 4) ควรมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวทางการนามาใช้ในสถานศึกษา”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 10(1): 34-41

ปริศนา วิโนสุยะ. (2562). การศีกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร

ราชกิจจานุเบกษา. 2551 ก. เล่มที่ 125 ตอนที่ 43 ก.

รัตนาวดี แสนยศ. (2563). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 1: วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2556). กระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: การวิจัยกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิวรี พิศุทธสนธพ. (2553). รูปแบบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. 2556. บทบาทของผู้นำต่อการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. (Online). http://www.stou.ac.th/study/sumrit/, 30 มีนาคม 2561.

อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัย ราชภัฎนครสวรรค์, นครสวรรค์.

Best, J.W. (1981). Research in Education. New Jersey : Prentice Hall.

Hord, S. M., James L. Roussin, William A. Sommers. (2008). Leading Professional Learning Communities: Voices From Research and Practice. Thousand Oaks, California: Corwin Press.