วิธีเสริมสร้างศรัทธาและปัญญาด้วยการธุดงค์ธรรมยาตราเชิงพุทธบูรณาการ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “วิธีเสริมสร้างศรัทธาและปัญญาด้วยการธุดงค์ธรรมยาตราเชิงพุทธบูรณาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิธีการเสริมสร้างศรัทธาและปัญญาในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาวิธีธุดงค์ธรรมยาตราของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย 3) เพื่อเสนอวิธีเสริมสร้างศรัทธาและปัญญาด้วยการธุดงค์ธรรมยาตราเชิงพุทธบูรณาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ข้อเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า โครงการการธุดงค์ธรรมยาตราเชิงพุทธบูรณาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นโครงการที่เนื่องด้วยแนวคิดทางพระพุทธศาสนาโดยนำหลักธุดงควัตร มาประยุกต์กับแนวคิดการเดินธรรมยาตราในเชิงพุทธบูรณาการ วิธีเสริมสร้างศรัทธาและปัญญาด้วยการธุดงค์ธรรมยาตราเชิงพุทธบูรณาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 3 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1 ข้อวัตรปฏิบัติ(การสมาทานธุดงค์) วิธีที่ 2 กิจกรรมเสริมสร้างศรัทธาและปัญญา วิธีที่ 3 หลักธรรมที่เสริมสร้างศรัทธาและปัญญา ทั้ง 3 วิธีนี้เป็นปัจจัยสำคัญส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามหลักพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของการจัดทำกิจกรรมโครงการให้เกิดขึ้นระหว่างชุมชนและสถาบันการศึกษา หน่วยทางการศึกษา หน่วยทางศาสนา และการสื่อสารพระพุทธศาสนาการสื่อสารภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ ชาวพุทธ ชุมชน ที่ให้ปรากฏต่อสาธารณะ ทำให้เกิดมิตรภาพ ความเข้าใจและการเรียนรู้ปรับตัวในมิติเชิงสังคมร่วมกัน เสริมสร้างศรัทธาและปัญญาภายใต้โครงการธุดงค์ธรรมยาตราของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
พระเทพญาณมงคล และคณะ. คูมือการศึกษาสัมมาปฏิบัติไตรสิกขา. พิมพ์ครั้งที่ 8. .นครปฐม: บริษัท เพชรเกษม พริ้งติ้ง กรุป จำกัด, 2555.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). คำสอนผู้บวชพรรษาเดียว ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม, 2549.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). จารึกอโศก (ธรรมจักรบนเศียรสี่สิงห์) รัฐศาสตร์แห่งธรรมาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ จำกัด, 2559.
พระพุทธโฆสเถระ, วิสุทธิมรรค. แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนาเพรส จำกัด, 2554.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาสภมหาเถระ). พระปฏิบัติศาสนา เรื่องธุดงควัตร. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2531.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ จำกัด, 2561.
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสมมหาเถระ ป.ธ.9 M.A., ph.D.). ความรู้เรื่องธุดงค์. เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554, ม.ป.ท.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. ธรรมวิภาค ปริเฉทที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2527.
พระปิฎกโกศล ดร.(ปราโมทย์ ปโมทิโต). ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี. สัมภาษณ์ วันที่ 19 สิงหาคม 2564.
รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม, รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป/ ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาควิชารัฐศาสตร์ ตณะสังคมศาสตร์ สังกัด ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์. สัมภาษณ์ วันที่ 12 กันยายน 2564.