อิทธิพลศิลปะลพบุรีที่มีต่อระบำนาฏสุรางค์พระปรางค์สามยอด

ผู้แต่ง

  • ดร. ดิเรก ทรงกัลยาณวัตร วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ศิลปะลพบุรี, ระบำนาฏสุรางค์พระปรางค์สามยอด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยนี้เพื่อศึกษาอิทธิพลศิลปะลพบุรีต่อระบำนาฏสุรางค์พระปรางค์สามยอด  ขอบเขตการวิจัย คือ ศึกษาศิลปะลพบุรีที่ใช้สร้างสรรค์ ท่ารำ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ทำนองเพลง เนื้อร้อง และเครื่องดนตรี ในระบำนาฏสุรางค์พระปรางค์สามยอด  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะลพบุรี และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรีนาฏศิลป์ และนักประวัติศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ทำนองเพลงได้รับอิทธิพลจากเพลงไทยสำเนียงเขมรชื่อเพลงเขมรเป่าใบไม้ เนื้อร้องประพันธ์จากแรงบันดาลใจตามจารึกพบที่ศาลสูงลพบุรี มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นวัฒนธรรมร่วมของอุษาคเนย์ ที่มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมต่อกัน (2) การประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ทรงผม และท่ารำ ระบำนาฏสุรางค์พระปรางค์สามยอด ได้รับจากอิทธิพลศิลปะลพบุรี เพราะประดิษฐ์ขึ้นมาตามหลักฐานประวัติศาสตร์และโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมืองลพบุรี

References

กรมศิลปากร. (2536). พัฒนาการอารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2554). ศิลปะการออกแบบท่ารำ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ธิดา สาระยา. (2552). อารยธรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

ผกา เบญจกาญจน์. (2540). การศึกษารูปแบบและความเชื่อของประติมากรรมเทพรำที่ปราสาทหินพิมาย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิษณุ เข็มพิลา. (2539). การศึกษาท่ารำจากประติมากรรมรูปพระศิวะนาฏราชแบบเขมรที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยกับการประดิษฐ์ท่ารำระบำลพบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี. (2554). การสร้างสรรค์ชุดการแสดงโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ฯ : ระบำนาฏสุรางค์พระปรางค์สามยอด. ลพบุรี: วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี.

สกลสุภา ทองน้อย. (แปล). (2553). เครื่องดนตรีกัมพูชาโบราณ. นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหิดล.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2556). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ. กรุงเทพฯ: นุชาการพิมพ์.

สันติ เล็กสุขุม. (2554). ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ.. (2515). พระศิวนาฏราชในศิลปะลพบุรี. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ.

_________. (2510). ศิลปะสมัยลพบุรี. พระนคร : กรมศิลปากร.

_________. (2539). ศิลปะในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.

สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว.. (2542). ปราสาทหินและทับหลัง. กรุงเทพฯ: สตาร์ปริ้นท์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-01