Journal Information
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (2024): มกราคม - มิถุนายน 2567
วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ ประจำปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2567) ประกอบด้วยบทความจากครู อาจารย์ นักวิชาการ นักสร้างสรรค์ผลงานของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จำนวน 16 บทความ แบ่งออกเป็น บทความวิชาการ 3 บทความ บทความวิจัย 7 บทความ และบทความสร้างสรรค์ 6 บทความ บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทความสร้างสรรค์ เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาสู่ก้าวหน้าของแวดวงวิชาการด้านนาฏศิลป์ ดนตรี คีตศิลป์ และทัศนศิลป์ ในด้านการวิจัย การสร้างสรรค์ ตลอดจนการพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอน การจัดการศึกษา อย่างไม่หยุดยั้งของคณาจารย์ บุคลากร นักวิจัย นักสร้างสรรค์งานอิสระ ก่อให้เกิดแนวทางและองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ดังบทความวิชาการ 3 บทความ ได้แก่ การสืบสรรค์วรรณคดีมรดกของไทยในบทละคร เรื่อง “วัยมันพันธุ์อสูร” กระบวนการถ่ายทอดเพลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่หมู่ 9 วง เพลงแขกมอญ สามชั้น ทางพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) การฝึกโสตทักษะดนตรีสากลสำหรับผู้เรียนดนตรีไทย บทความวิจัย 7 บทความ ได้แก่ การศึกษาอนุภาคทางคติชนวิทยาและบทบาทหน้าที่ในสังคมไทยของบทเพลงที่เกี่ยวกับพระเกจิอาจารย์ การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการปฏิบัติฆ้องวงใหญ่เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง รูปแบบการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการเรียนรู้นาฏศิลป์ดนตรี การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชานาฏศิลป์ ชุดรำวงมาตรฐาน การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ : ซัมเป็ง การประเมินผลการพัฒนาทักษะผู้นำและทักษะอาชีพของครูและนักเรียนในโครงการพัฒนาทักษะผู้นำเยาวชน และบทความงานสร้างสรรค์ 6 บทความ ได้แก่ เส้นสายลายซอ การออกแบบบอร์ดเกมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับปลากัดป่า ตัณหา : จิตรกรรมไทยร่วมสมัยกับสัญลักษณ์ที่เป็นกลางทางเพศ นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด บุพเพจีตราเนียง ประตูแห่งกาลเวลา : ศิลปะการเต้นรำเฉพาะพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสงขลา และลายล่องนทีสองฝั่งโขง
วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ ขอขอบคุณผู้เขียนทุกท่านที่ให้เกียรติวารสารเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ ผลงาน ขอกราบขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมพิจารณาประเมินบทความให้ข้อแนะนำอันเป็นประโยชน์ เพื่อให้บทความมีคุณค่ามาตรฐานทางวิชาการ กองบรรณาธิการจะมุ่งมั่นพัฒนามาตรฐานของวารสารให้มีคุณภาพ เป็นแหล่งเผยแพร่ทรัพยากรความรู้
สู่ประโยชน์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติต่อไป