การสร้างสรรค์ชุดการแสดง “ระบำเยื่อเคยราย็อง”

ผู้แต่ง

  • ประกิจ พงษ์พิทักษ์ โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง

คำสำคัญ:

เยื่อเคย, ราย็อง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ขั้นตอนการทำเยื่อเคยหรือกะปิ ของหมู่ที่ 3 ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง นำมาสู่การสร้างสรรค์ชุดการแสดง ระบำเยื่อเคยราย็อง วิธีการศึกษา ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ ตำรา การสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ขั้นตอนการทำเยื่อเคยหรือกะปิของกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่ที่ 3 ตำบลหนองละลอก โดยแบ่งกลุ่มการสัมภาษณ์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำเยื่อเคยหรือกะปิของหมู่ที่ 3 โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์ของผู้ให้ข้อมูลทั้งสองกลุ่มที่ชัดเจน การสร้างเครื่องมือแบบสัมภาษณ์ พร้อมทั้งมีการตรวจสอบเครื่องมือและข้อมูล ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เพื่อนำองค์ความรู้มาสร้างสรรค์ขึ้นเป็นชุดการแสดง ระบำเยื่อเคยราย็อง ผลการวิจัย พบว่า การทำเยื่อเคยหรือกะปิของกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่ที่ 3 ตำบลหนองละลอก มีการสืบทอดมาเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี จากบรรพบุรุษจนกลายมาเป็นสินค้าพื้นเมืองที่สร้างชื่อเสียงมายาวนาน โดยใช้วัตถุดิบกุ้งเคยมาทำเป็นกะปิ พบมากในบริเวณทะเลของจังหวัดระยอง แหล่งการทำกะปิที่มีชื่อเสียงมีอยู่หลายแห่ง โดยเฉพาะตำบลหนองละลอก ซึ่งผู้วิจัยได้นำอัตลักษณ์ของการทำเยื่อเคยหรือกะปิของกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่ที่ 3 มาสร้างสรรค์ขึ้นเป็นกระบวนท่ารำ โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 สะท้อนวิถีทำเยื่อเคยชาวระยอง ช่วงที่ 2 ร่วมปรองดองสืบสานภูมิปัญญา และช่วงที่ 3 สุขชื่นตาฟ้าเพ็ญรำวงชาวระยอง เพลงที่ใช้ประกอบ การแสดงเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ ชื่อเพลงระบำเยื่อเคยราย็อง ด้านการประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย ได้ศึกษาการแต่งกายของชาวระยองในอดีตมาสร้างเป็นเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์การแสดง ใช้ระวะ ไหเคลือบดินเผา กระบุงใส่เคย กระชอนเกอะน้ำเคย กระจาดใส่เคย และผลิตภัณฑ์กะปิสำเร็จรูป

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2535). ความคิดสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2542). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดระยอง. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

เฉลียว ราชบุรี. (2549). ประวัติศาสตร์เมืองระยอง. ระยอง: ระยองกันเอง.

ประภาสี สีหอำไพ. (2531). การเขียนแบบสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร. (2556). สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดการความรู้สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม (หลักสูตร การผลิตกะปิอนามัยบ้านกระซ้าขาว) ปี 2554-2555. สมุทรสาคร: วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2557). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองละลอก. (2555). เอกสารบรรยายสรุปองค์การบริหารส่วนตำบลหนองละลอก ปี 2555. ระยอง: สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

หนองละลอก.

จรัญ พงษ์พิทักษ์. ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเยื่อเคยหรือกะปิ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองละลอก. สัมภาษณ์, 30 เมษายน 2556.

จิรวรรณ อุ่มสุข. ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเยื่อเคยหรือกะปิ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองละลอก. สัมภาษณ์, 30 เมษายน 2556.

เฉลียว ราชบุรี. ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดระยอง/รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ ประถมศึกษาระยอง เขต 1. สัมภาษณ์, 3 มีนาคม 2557.

ชูชาติ อ่อนเจริญ. ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานระยอง. สัมภาษณ์, 11 มีนาคม 2557.

ดำริห์ การควรคิด. วัฒนธรรมจังหวัดระยอง (9). สัมภาษณ์, 10 มีนาคม 2557.

ทวนธน คำมีศรี. ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง/ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง. สัมภาษณ์, 11 มีนาคม 2557.

ปราโมทย์ ฉันทมิตร์. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองละลอก. สัมภาษณ์, 12 มีนาคม2557.

น้อม สุนทรถนอม. ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลหนองละลอก. สัมภาษณ์, 12 มีนาคม 2557.

สมลักษ์ แก้วชิงดวง. หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์พัฒนาชุมชนจังหวัดระยอง/ผู้แทนพัฒนาการจังหวัดระยอง. สัมภาษณ์, 10 มีนาคม 2557.

สะอาด ทัดไธสง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเยื่อเคยหรือกะปิ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองละลอก. สัมภาษณ์, 30 เมษายน 2557.

อานนท์ เมธีนันทชัย. กำนันตำบลหนองละลอก. สัมภาษณ์, 3 มีนาคม 2557.

อิ่ม จิตบรรจง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเยื่อเคยหรือกะปิ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองละลอก. สัมภาษณ์, 30 เมษายน 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2559-12-01