ความพึงพอใจของประชาชนต่อการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

ผู้แต่ง

  • จันทนีย์ หิรัญโรจน์ กรมศิลปากร

คำสำคัญ:

พิพิธภัณฑ์, คุณภาพการบริการ, กระบวนการการให้บริการ

บทคัดย่อ

พิพิธภัณฑ์นับได้ว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต.และสำคัญของชาติ.การให้ความสำคัญกับแหล่งเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรม.ทั้งในด้านการบริหารจัดการ.รวมถึงการบริการซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการรับใช้ประชาชน ในการศึกษาเรื่อง“ความพึงพอใจของประชาชนต่อการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร” การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ในส่วนของการเก็บแบบสอบถามใช้วิธีสุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ผู้เยี่ยมชมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.พระนคร จำนวน 200 ท่าน การศึกษาในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า ในด้านการบริหารการจัดการภายในพิพิธภัณฑ์.พิพิธภัณฑ์อยู่ภายใต้การปกครองและดำเนินการของกรมศิลปากร.ฉะนั้น นโยบาย กฎระเบียบต่างๆ กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนคุณภาพการบริการของเจ้าหน้าที่ยังต้องเร่งพัฒนา อบรม ให้ความรู้ให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน.รวมถึงปรับปรุงด้านสาธารณูปโภคให้พร้อมอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว อีกทั้งกระบวนการการให้บริการหากจัดทำขั้นตอนการบริการที่ชัดเจน แนะนำการสัญจรภายในพิพิธภัณฑ์ ทั้งหมดนี้ยังเป็นการเพิ่มความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้ นอกจากนั้นข้อเสนอแนะเพิ่มเติมหากการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชน และการสร้างพันธมิตร ที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม และการดูแลศิลปะของชาติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในด้านแหล่งเงินทุน และช่วยในการประชาสัมพันธ์ออกไปสู่ประชาชนมากยิ่งขึ้น

References

นพดล อินทร์จันทร์. (2555). การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหอจดหมายเหตุ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรชัย ทุหมัด. (2556). ความพึงพอใจของผู้รับบริการพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมสุข แขมคำ. (2549). ประสิทธิภาพการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ. เพชรบุรี: สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏเพชรบุรี.

กานต์สินี ปิติวีรารัตน์. (2555). คุณภาพการบริการและกระบวนการบริการให้บริการในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-01