การวางแผนผลิตกำลังคนภาครัฐด้านศิลปวัฒนธรรม สาขานาฏศิลป์ สาขาดนตรี สาขาคีตศิลป์ และสาขาทัศนศิลป์ ของประเทศไทย พ.ศ. 2557-2559

ผู้แต่ง

  • ผศ. ดร. อุษาภรณ์ บุญเรือง คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การวางแผนผลิตกำลังคน, ภาครัฐด้านศิลปวัฒนธรรม, สาขานาฏศิลป์, สาขาดนตรี, สาขาคีตศิลป์, สาขาทัศนศิลป์, ประเทศไทย พ.ศ. 2557-2559

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง “การวางแผนผลิตกำลังคนภาครัฐด้านศิลปวัฒนธรรม สาขานาฏศิลป์  สาขาดนตรีสาขาคีตศิลป์ และสาขาทัศนศิลป์ ของประเทศไทย พ.ศ. 2557-2559  มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากำลังคนของภาครัฐด้านศิลปวัฒนธรรม สาขานาฏศิลป์  สาขาดนตรี  สาขาคีตศิลป์ และสาขาทัศนศิลป์ ของประเทศไทย พ.ศ. 2556  (2) เพื่อศึกษาวางแผนผลิตกำลังคนของภาครัฐด้านศิลปวัฒนธรรม สาขานาฏศิลป์ สาขาดนตรี สาขาคีตศิลป์ และสาขาทัศนศิลป์ ของประเทศไทย    พ.ศ. 2557-2559  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างการทำวิจัยครั้งนี้คือ  ทำการศึกษาข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน  สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร พื้นที่การปกครองแบบพิเศษพัทยา กระทรวงมหาดไทย  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม  จำนวน  1,000  คน  จากพื้นที่ 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ศึกษาข้อมูลขั้นปฐมภูมิ โดยวิจัยครั้งนี้นำผลที่ได้จากการวิจัยไปการวางแผนการผลิตกำลังคนภาครัฐด้านศิลปวัฒนธรรม สาขานาฏศิลป์ สาขาดนตรี สาขาคีตศิลป์ และสาขาทัศนศิลป์ ของประเทศไทย พ.ศ. 2557-2559

           วิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มในการวางแผนและประเมินผลในการพัฒนาสาขานาฏศิลป์  สาขาดนตรี สาขาคีตศิลป์ และสาขาทัศนศิลป์ ของประเทศไทย ในจากการวางแผนผลิตกำลังคนภาครัฐ มาใช้เป็นประโยชน์ในกระทรวงวัฒนธรรมและสำนักงานสถิติแห่งชาติ  ในการจัดเก็บข้อมูลและการจัดการทำสถิติด้านศิลปวัฒนธรรม  สาขานาฏศิลป์  สาขาดนตรี  สาขาคีตศิลป์  และสาขาทัศนศิลป์ ในการวิเคราะห์สถานการณ์การผลิต  ระบบการบริหารจัดการและเผยแพร่สถิติ รวมทั้งแนวทางการพัฒนาสถิติรายสาขาด้านศิลปวัฒนธรรมต่อไป              

           ผลการศึกษา พบว่าในปี พ.ศ.  2556 จากการสำรวจข้อมูลปฐมภูมิ สาขานาฏศิลป์  สาขาดนตรี  สาขาคีตศิลป์ และสาขาทัศนศิลป์ ของประเทศไทย มีจำนวน 25,432 คน จากจำนวนประชากร 64,623,000 คน และความต้องการของสังคมที่มีความกำลังคนในปี พ.ศ. 2557 จากจำนวน 66,000,000 คน ปี พ.ศ. 2558  จำนวน 68,000,000 คน  และ ปี พ.ศ. 2559 ควรมีจำนวน 70,000,000 คน ควรมีบุคลากรด้านศิลปวัฒนธรรมสาขานาฏศิลป์  สาขาดนตรี  สาขาคีตศิลป์  และสาขาทัศนศิลป์  เฉพาะที่เป็นครู อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการและบุคลากรทางการศึกษา  โดยมีความต้องการมากซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันเพื่อให้เกิดความสอดคล้องในการพัฒนาศักยภาพ ครู  อาจารย์  นักวิจัย  นักวิชาการและบุคลากรทางการศึกษาทางการศึกษา2555-2559 เพื่อให้เกิดความสอดคล้องในการพัฒนาเพื่อให้เกิดศักยภาพผลิตครู  อาจารย์  นักวิจัย  นักวิชาการและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2557-2559 จำนวนประชากรของประเทศที่ส่งผลต่อการผลิตกำลังคนภาครัฐด้านศิลปวัฒนธรรมสาขานาฏศิลป์  สาขาดนตรี  สาขาคีตศิลป์  และสาขาทัศนศิลป์ ของประเทศไทย พ.ศ. 2557-2559 ความต้องการสังคมมีสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงาน ก.พ. กองวิชาการ. (2555). คู่มือการวางแผนและบริหารกำลังคน, กรุงเทพฯ: ธีรานุสรณ์การพิมพ์.
สำนัก ก.พ. ฝ่ายเลขานุการ. (2555). ยุทธศาสตร์การปรับกำลังคนภาครัฐ (2555-2560) และแนวทางปฏิบัติ, กรุงเทพฯ.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2548). แนวทางและวิธีวิจัยสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.
จำนง สมประสงค์ และประดิษฐ์ ชาสมบัติ. (2519). เศรษฐศาสตร์แรงงาน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
จุฑา มนัสไพบูลย์. (2537). การวิเคราะห์ตลาดแรงงาน: แนวคิดเชิงทฤษฎี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2541). ทิศทางการวางแผนกำลังคนเพื่อรองรับการอำนวยความยุติธรรมในทิศวรรษหน้า.
เทียนฉาย กีระนันทน์. (2519). เศรษฐศาสตร์: ทรัพยากรมนุษย์และกำลังคน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
อมรทิพย์ แท้เที่ยงธรรม. (2544). เศรษฐศาสตร์มหภาค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Meyer, Gregg S. Gastroenterology workforce modeling, JAMA. 276 (1996): 689-694. Sharif, Mohammed. Inverted “S” the complete neoclassical labor-supply function.International Labor Review. 139 (2000): 409-435.
Wetzel; O’ Toole and Perterson. An analysis of student enrollment demand. Economics of Education Review. (1998): 47-54, อ้างถึงใน นงลักษณ์ วิรัชชัย สุวิมล ว่องวาณิชและอวยพร เรืองตระกูล, 2546. หน้า 31.
Quinn, R. and Price, J.. The demand for medical education: an augmented human
capital approach. Economics of Education Review. (1998): 337-347, อ้างถึงใน นงลักษณ์ วิรัชชัย สุวิมล ว่องวาณิช และอวยพร เรืองตระกูล, 2546. หน้า 38.
Kerlinger,F.N.,and Lee,H.B. 2000. Foundations of Behavioral Research.4th edition.U.S.A.:Thomson Learning,Inc.
Kumar,R. 1996. Research Methodology. London: Sage Publications.
Yamane, Taro. 1973. Statistics an introductory analysis. (3rd ed.). New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-01