ความสนุกสนานจากสื่อสังคมออนไลน์สู่ยูทูบ

ผู้แต่ง

  • ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ความสนุกสนานจากสื่อสังคมออนไลน์, ภาพเคลื่อนไหว, ยูทูบ

บทคัดย่อ

งานสร้างสรรค์นี้เป็นความพยายามในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้สามารถเคลื่อนไหวได้ จากจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์และจิตรกรรมในอดีตด้วยการวางภาพซ้ำ ๆ อันค่อย ๆ เปลี่ยนแปรไปเพื่อลวงตาให้รู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในศิลปะแบบสองมิติไปสู่การสร้างสรรค์การ์ตูนที่สามารถเคลื่อนไหวได้จริงในรูปแบบของคลิปวิดีโอ และด้วยเหตุผลที่ต้องการให้การเผยแพร่ขยายวงกว้างมากกว่าการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะในห้องแสดงผลงานสร้างสรรค์ ผู้วิจัยเลือกโซเชียลมีเดียเผยแพร่ผลงานผ่านแอปพลิเคชัน ยูทูบ (YouTube)

          แรงบันดาลใจส่วนใหญ่มาจากกระแสความนิยมต่าง ๆ ในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น คนดังจากโซเชียลมีเดีย ของเล่นที่เด็ก ๆ ชอบ การ์ตูนดัง ฯลฯ นำมาใช้เป็นเนื้อหาสำคัญในการดำเนินเรื่องราวด้วยการสร้างภาพการ์ตูนเป็นรูปของผู้วิจัยเองค่อย ๆ เปลี่ยนแปรไปจำนวนมากด้วยการเปลี่ยนภาพไปอย่างรวดเร็วเพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวได้จริงแสดงออกด้วยความสนุกสนานต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น ผลที่ได้รับเป็นการ์ตูนเคลื่อนไหวในรูปทรงง่าย ๆ เคลื่อนไหวด้วยการกระทำบางอย่างเป็นหลัก ไม่ได้เน้นเนื้อหา เพื่อแสดงความสุขสนุกสนานต่อสังคมโซเชียลมีเดีย และเป็นการจุดประกายการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลงานชุดต่อไป

References

กานดา รุณนะพงศา สายแก้ว. (2553). Social Media (โซเชียลมีเดีย). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2562. เข้าถึงจาก https://www.slideshare.net/ krunapon/social-media-5661152

จักรกฤษณ์ สิริริน. (2561). ของวิเศษโดราเอม่อนที่กลายเป็นจริง. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2562. เข้าถึงจาก https://www.salika.co/2018/11/08doraemon-items-became-true/

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์. (2560). ไขปริศนาสกุชชี่ฟองน้ำตะมุตะมิของเล่นสุดฮิตไฉนราคาแพงเด็กเสี่ยงพัฒนาการช้า. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2562. เข้าถึงจาก https://www.thairath.co.th/scoop/933308

บางกูด. (2562). หมีแพนด้า Squishy. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2562. เข้าถึงจาก https://sea.banggood.com/Squishy-Panda-Doll-Egg-Jumbo-14cm-Slow-Rising-With-Packaging-Collection-Gift-Decor-Soft-Squeeze-Toy-p-1169655.html?cur_warehouse=CN

บีบีซีนิวส์. (2561). วันอิโมจิโลก : 5 ข้อน่าทึ่งเกี่ยวกับอิโมจิ จากทั่วโลก. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2562. เข้าถึงจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-44858738?ocid=socialflow_facebook

วรรณยุทธ มีนะโยธิน. (2553). ศิลปะพ็อพ อาร์ต (pop art). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2562. เข้าถึงจาก https://guymnyt.wordpress.com/2013/11/16 /ศิลปะพ็อพ-อาร์ต-pop-art/

สารานุกรม IT. (2562). YouTube คืออะไร. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2562. เข้าถึงจาก https://mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2386-youtube-คืออะไร.html

สาลี่ แชลนอล. (2562). ตามหาสกุชชี่ เจอสกุชชี่โดเรม่อน! การ์ตูนสาลี่ Ep1/Salie Cartoon: Looking for Doraemon Squishy. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2562. เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=cxuCSXm5TkQ

อันโนว. (2555). โดราเอมอน ตอน ความจริงของโดราเอมอน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2562. เข้าถึงจาก http://lets-me-know.blogspot.com/2012/ 12/blog-post_2.html

Lichtenstein, R. (1963). In the Car. [online]. Retrieved 31 September 2562. from https://en.wikipedia.org/wiki/In_the_Car

Nudnik, N. (1947). ‘Summer evening’ by Edward Hopper is enhanced with emoji text bubbles. [online]. Retrieved 31 September 2019. from https://www.designboom.com/art/nastya-nudnik-social-media-icons-paintings-04-02-2014/

Warhol, A. (1967). Marilyn Monroe. [online]. Retrieved 9 September 2019. from https://www.wurkon.com/blog/7-andy-warhol

_______, A. (1985). John Lennon Portrait. [online]. Retrieved 31 September 2019. from http://tarkus-magicmac.blogspot.com/2008/11/colours _15.html

Selfacoustic. (2018). Make-up stop motion/Mirror Ver. Animation. [online]. Retrieved 31 September 2019. from https://www.YouTube.com/ watch?v=jY5Ei0x3BzU

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-01