นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด พนาธาร

ผู้แต่ง

  • รศ. ดร. จินตนา สายทองคำ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • วีระพงษ์ ดรละคร คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ผศ. นิตยา รู้สมัย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์สร้างสรรค์, พนาธาร

บทคัดย่อ

นาฏศิลป์สร้างสรรค์ชุด พนาธาร มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์นาฏศิลป์ชุดใหม่ โดยศึกษาแนวทางจากความเป็นมาและการดำเนินการต่าง ๆ ของโครงการในพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 อันเกี่ยวข้องกับผืนดิน ผืนน้ำ ผืนป่า ที่สร้างความสุขถาวรแก่ประชาชนชาวไทย ผลการสร้างสรรค์งานมีองค์ประกอบดังนี้ 1) สร้างสรรค์ท่วงทำนองเพลงแทรกการเลียนเสียงธรรมชาติ 2) คัดเลือกผู้แสดงชายหญิงจำนวน 16 คน 3) กระบวนท่ารำผสมผสานการเคลื่อนไหวของร่างกายที่เลียนแบบการเคลื่อนไหวของธรรมชาติ 4) การแต่งกายเป็นการนุ่งห่มแบบชาวบ้านที่ไม่เจาะจงว่าเป็นภาคใดของไทย 5) อุปกรณ์การแสดง ได้แก่ ตะกร้าไม้ไผ่สานใส่ต้นไม้ดอกไม้สื่อถึงป่า 6) การออกแบบแถวและการใช้พื้นที่เวทีที่หลากหลาย ทั้งนี้รูปแบบการแสดงแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1) ป่า น้ำ นำสร้างสรรพสิ่ง ช่วงที่ 2) ยากยิ่งขาดน้ำ ขาดป่า ช่วงที่ 3) ป่ารักษ์น้ำ ตามรอยพระบาท

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2560). รุกขมรดกของแผ่นดินใต้ร่มพระบารมี. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2557). การจัดการความรู้เรื่องการจัดการความรู้จากงานวิจัยสร้างสรรค์รูปแบบศิลปนิพนธ์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ณัฏฐนันท์ จันนินวงศ์. (2557). “การออกแบบลีลานาฏศิลป์ไทยของอาจารย์สุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2533”. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 1, 1: 32-39.

ธรรมรัตน์ โถวสกุล. (2543). นาฏยศิลป์ในงานโครงการนาฏยศิลป์ของภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขานาฏยศิลป์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพโรจน์ ทองคำสุก. (2547). ครูจำเรียง พุธประดับ ศิลปินแห่งชาติ รูปแบบความเป็นครูผู้ถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยแบบโบราณ. กรุงเทพฯ: ดอกเบี้ย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: หสน.ห้องภาพสุวรรณ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30