ฟ้อนตะคัน

ผู้แต่ง

  • เหมือนขวัญ สุวรรณศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ฟ้อน, ตะคัน, การสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง ฟ้อนตะคัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์และวิเคราะห์นาฏยลักษณ์การแสดงชุด ฟ้อนตะคัน ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ฟ้อนตะคันเป็นผลงานสร้างสรรค์การแสดงของคณะครูภาควิชานาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 2531 ภายใต้การนำของนายจตุพร รัตนวราหะ ผู้อำนวยการวิทยาลัย ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของประเพณีการเผาเทียนแบบโบราณในประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟจังหวัดสุโขทัย ผู้เรียบเรียงทำนองเพลงฟ้อนตะคัน คือ นายสมุทร อิงควระ แนวคิดในการประดิษฐ์ท่ารำอาศัยหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 และหลักฐานการค้นพบซากตะคันตามโบสถ์วิหารในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยระหว่าง พ.ศ. 2520-2530 และแรงบันดาลใจเกี่ยวกับความสวยงามของแสงเทียนในค่ำคืนของเทศกาลลอยกระทง องค์ประกอบการแสดงใช้นักแสดงหญิงล้วนไม่จำกัดจำนวน ลักษณะการแต่งกายมี 3 แบบตามโอกาส ใช้ “ตะคัน” เป็นอุปกรณ์จุดไฟให้แสงสว่าง ดนตรีประกอบใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม รวมวงแบบเฉพาะกาล โครงสร้างของเพลงแบ่งเป็น 3 ส่วน อัตราจังหวะ 2 ชั้น และชั้นเดียว จังหวะหน้าทับลาว กระบวนท่ารำมี 4 ขั้นตอน ท่ารำหลัก 13 ท่าและท่าเชื่อม 2 ท่า ลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกาย 5 ส่วน 8 ทิศทางและการแปรแถว 7 รูปแบบ การวิเคราะห์นาฏยลักษณ์ พบว่า ฟ้อนตะคันเป็นการแสดงที่สะท้อนเอกลักษณ์ท้องถิ่นของสุโขทัยในด้านประเพณีและวัฒนธรรม ใช้ “ตะคัน” เป็นอุปกรณ์ประกอบเพื่อสื่อให้เห็นถึงประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ เพื่อเป็นพุทธบูชาตามแบบโบราณ เครื่องแต่งกายใช้ผ้าซิ่นตีนจกและผ้าทอพื้นเมืองที่เป็นภูมิปัญญาชาวสุโขทัย ลักษณะเด่นของการแสดงฟ้อนตะคันเป็นการรำหมู่ที่มีลีลาการฟ้อนแบบผสมผสานระหว่างการฟ้อนแบบภาคเหนือและภาคกลางที่มีความสวยงามน่าชม

References

บานชื่น ผกามาศ. (20 มกราคม 2561). แปลหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://banchuen.blogspot.com/2012/01/blog-post.html?m=1

ประทิน พวงสำลี. (2514). หลักนาฏศิลป์. พระนคร: ไทยมิตรการพิมพ์.

พจน์มาลย์ สมรรคบุตร. (2541). การฟ้อนผู้ไทยในเรณูนคร. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตร มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2538). แนวคิดการประดิษฐ์ท่ารำเซิ้ง. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุดรธานี.

มานพ วิสุทธิแพทย์. (2533). การวิเคราะห์เพลงไทย. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

รัตติยา โกมินทรชาติ. (2549). การฟ้อนของชาวภูไท: กรณีศึกษาหมู่บ้านวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่. (2550). ฟ้อนเมือง: รูปแบบพระราชชายาเจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่: ผู้แต่ง.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สุรัตน์ จงดา. (2541). ฟ้อนผีฟ้านางเทียม: การฟ้อนรำในพิธีกรรมและความเชื่อของ ชาวอีสาน. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30