การเป่าปี่ประกอบลำผู้ไทย

ผู้แต่ง

  • ผศ. ดร. โยธิน พลเขต วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • พร ยงดี วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ดร. ชัยณรงค์ ต้นสุข วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การเป่าปี่, ลำผู้ไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการเป่าปี่ประกอบลำผู้ไทย ผลการศึกษาพบว่าการเป่าปี่ ผู้เป่าถือปี่ด้วยมือทั้งสองข้างให้ปี่อยู่ในแนวตั้งและเอียงเล็กน้อย โดยใช้มือซ้ายหรือมือขวาไว้ด้านบนหรือล่างก็ได้ มือบนใช้นับเพียงสองนิ้ว คือ ใช้นิ้วชี้ปิดรูบนสุดและนิ้วกลางปิดรูถัดมา ส่วนมือล่างใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ปิดรูที่เหลือถัดลงมาตามลำดับ ใช้ปากอมเลาปี่ส่วนที่เป็นลิ้นของปี่เข้าไปในปาก และเป่าลมออกตามเสียงที่ต้องการ ทำนองปี่ที่เป่าประกอบลำผู้ไทย เป็นทำนองสั้นๆ มีวรรคเดียว เทียบได้กับลักษณะทางดนตรีสากล คือ ออสตีนาโต (ostinato) โดยปรกติแล้วการเป่าปี่ประกอบลำผู้ไทยต้องมีแคนเป่าประกอบด้วย ซึ่งเป็นทำนองสั้น ๆ เช่นเดียวกัน ต่างกันที่ปี่มีกระแสเสียง (tone color) ที่สูง เล็กแหลม แนวนอน และทำเสียงในลักษณะออดอ้อน ส่วนแคนนั้นมีเสียงนุ่มนวลอ่อนหวาน มีทั้งทำนองแนวนอนและแนวตั้ง แคนและปี่เป่านำขึ้นก่อน แล้วหมอลำจึงร้องตามเข้ามา หมอลำขึ้นจังหวะสุดท้ายประโยคของปี่และแคน การเป่าเสียงออดอ้อนทำให้เกิดความไพเราะ และเป็นที่ประทับใจผู้ฟัง ผู้เป่าปี่ผู้ไทยที่ดีคือต้องรู้จักฉันทลักษณ์ ประโยค และวรรคตอนของกลอนลำ

References

กฤษณา วรรณสุทธิ์. ศิลปินมรดกอีสาน. สัมภาษณ์, 10 พฤษภาคม 2560.

จำปี อินอุ่นโชติ. ศิลปินมรดกอีสาน. สัมภาษณ์, 30 พฤษภาคม 2560.

เจริญชัย ชนไพโรจน์. ศิลปินมรดกอีสาน. สัมภาษณ์, 23 มกราคม 2560.

เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2529). รายงานการวิจัยเรื่องดนตรีผู้ไทย. มหาสารคาม: ภาควิชาดุริยางคศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฉวีวรรณ ดำเนิน. ศิลปินแห่งชาติ. สัมภาษณ์, 10 พฤษภาคม 2560.

แทน แสงสุริย์. สัมภาษณ์, 9 มีนาคม 2560.

แทน แสงสุริย์. (2533). ภูมิปัญญาชาวบ้านกุดหว้า. กาฬสินธุ์: ผู้แต่ง.

ปรานี วงษ์เทศ. (2525). สังคมและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

เมฆ ศรีกำพล. ศิลปินมรดกอีสาน. สัมภาษณ์, 6 มีนาคม 2560.

สมฤทัย เพ่งศรี. (2550). เสนตังบั่งหน่อ: ดนตรีพิธีกรรมของลาวโซ่ง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สวัสดิ์ สุวรรณไตร. สัมภาษณ์, 7 มีนาคม 2560.

Durkheim, E. (1935). The Division of Labour in Society. Glencoe, IL: Free Press.

Terry, E., M. (1977). Kaen Playing and Mawlum Singing in Northeast Thailand. Indiana University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30