จินตภาพแห่งความฝันของมนุษย์และดอกไม้

ผู้แต่ง

  • ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

จินตภาพ, สามมิติ, ประติมากรรมนุ่ม

บทคัดย่อ

การทำงานศิลปะแบบสามมิตินับเป็นก้าวแรกในการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิมที่เป็นสองมิติ แต่กลับไม่ใช่การนับหนึ่งในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของผู้สร้างสรรค์ ผลงานที่เกิดขึ้นจึงมีความเป็นปัจเจกที่ได้รับอรรถรสของงานทัศนศิลป์แตกต่างไปอีกรูปแบบหนึ่ง มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแทบทุกกระบวนการแม้รูปทรงและแนวคิดจะเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด และด้วยเหตุผลที่ต้องการให้ผลงานสร้างสรรค์ที่เคยเป็นสองมิติแบบลวงตานั้นแปรเปลี่ยนเป็นรูปทรงจริงแบบสามมิติที่สามารถมองเห็นได้รอบทิศทางกินระวางพื้นที่ตั้งวางอยู่บนพื้นและในอากาศ ด้วยการสร้างสรรค์ให้เป็นผลงานประติมากรรมนุ่ม (Soft Sculpture) ที่ใช้ผ้าเป็นวัสดุหลักและด้ายในการเชื่อมต่อผ้าเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นยังเสริมวัสดุอื่น ๆ เข้ามาประกอบให้ผลงานสมบูรณ์ตามแนวความคิดที่ต้องการแสดงออก ผลที่ได้รับเกิดความแตกต่างของผลงานที่ให้รสชาติใหม่แตกต่างออกไปจากเดิมเป็นอย่างมากในทุกองค์ประกอบ เกิดการเรียนรู้ การแก้ปัญหาต่าง ๆ ในทุกกระบวนการ ที่สำคัญยังสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นใหม่ต่อไปในอนาคต

References

แคลส์ โอลเดนเบิร์ก. (30 มิถุนายน 2556). การแสดงนิทรรศการศิลปะในชุด “เดอะซิกตี้” (The Sixties). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://www.yourclassical.org/story/2013/09/20/arts/photos-oldenburg

แจนนิค เดสลอรี่ส์. (30 มิถุนายน 2556). ชื่อผลงาน Poppies, 2008-2009, เทคนิค Installation Textile. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://www.jannickdeslauriers.com/

ดอกอินทนิล. (30 มิถุนายน 2556). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://5a23208tang.wordpress.com/

ฮอลลี่ เลเวลล์. (30 มิถุนายน 2556). ผลงานสิ่งทอ (textile). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://www.hollylevell.com/page/13

Claes Oldenburg. (30 June 2013). Soft Toilet. [online]. From http://www.askyfilledwithshootingstars.com/wordpress/?p=836

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30