การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำยืมในภาษาไทย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา เทศขำ บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • รศ. อนันต์ อารีย์พงศ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ผศ. ดร. วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, คำยืมในภาษาไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง คำยืมในภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องคำยืมในภาษาไทย โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำยืมในภาษาไทย สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำยืมในภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 (ห้อง 3) สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำยืมในภาษาไทย สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องคำยืมในภาษาไทย 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำยืมในภาษาไทย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที (T-test Dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำยืมในภาษาไทย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81/86 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำยืมในภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง คำยืมในภาษาไทยในระดับมาก

References

จงชัย เจนหัตถการกิจ. (2555). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

จตุพร สมดี. (2553). ผลของการเรียนการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแนวคิดของเดรสเซล ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันจิรา จิตตะวิริยะพงษ์. (2546). อิทธิพลภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ก๊อปปี้ แอนด์ พริ้นท์.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2556). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

นราภรณ์ ทองไชย. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการใช้ คำราชาศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง) ระหว่างกลุ่มที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับกลุ่มที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: พัฒนาการศึกษา.

พิชญา สุวรรณโน. (2556). การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาความรู้ เรื่อง นิทานพื้นบ้านสงขลาสำหรับนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ภาสกร เรืองรอง และคณะ. (2557). “เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21”. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5, (พิเศษ), 195.

เยาวลักษณ์ ชื่นอารมณ์. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรพล วิบูลยศริน. (2557). นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.

วารินทร์ รัศมีพรหม. (2541). เอกสารประกอบการสอนวิชาการออกแบบและพัฒนา การสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). คู่มือประกอบการอบรมหลักสูตรการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุทิน ทองไสว. (2547). “หนังสือยุคคอมพิวเตอร์”. วารสารวิชาการ, 7, 4, 46-53.

สุธารัตน์ ชำนาญเหนาะ. (2554). การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ประกอบการสอนหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุพรรษา ติ๊บปาละวงศ์. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิคTAI. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

เสาวลักษณ์ ญาณสมบัติ. (2545). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องนวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อาภา ธัญญะศิริกุล. (2552). การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ และความพึงพอใจต่อวิธีจัดการเรียนรู้แบบ 5E ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30