การสร้างกิจกรรมนาฏศิลป์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดตาลเอน (โศภนชนูปถัมภ์)

ผู้แต่ง

  • วีรภัทร จินตะไล บัณฑิตศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ผศ. ดร. ปรวัน แพทยานนท์ วิทยาลัยนวัตกรรมการสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างกิจกรรมนาฏศิลป์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดตาลเอน (โศภนชนูปถัมภ์) โดยมุ่งศึกษาการใช้ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ เปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้กิจกรรมนาฏศิลป์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดตาลเอน (โศภนชนูปถัมภ์) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 25 คน กำหนดแบบการวิจัยเป็นแบบแผน การทดลองแบบ One Group Pretest–Posttest Design ทดลองกลุ่มเดียวศึกษาผลก่อนและหลังการทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลและทดลองจากกลุ่มตัวอย่างวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) การสร้างกิจกรรมนาฏศิลป์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยนำหลักทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ที่มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น และความคิดละเอียดลออในการออกแบบกิจกรรม ซึ่งใช้เวลาในการทำกิจกรรมจำนวน 5 สัปดาห์ 10 กิจกรรม ค่าความสอดคล้อง (IOC) ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่าสอดคล้องกันและเหมาะสมของกิจกรรม ผลการประเมินมีค่าดัชนีความสอดคล้องสูงกว่า 0.50 2) ผลการทดลองก่อนและหลังการใช้กิจกรรมนาฏศิลป์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดตาลเอน (โศภนชนูปถัมภ์) ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองใช้กิจกรรมนาฏศิลป์สูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

ชุติกาญจน์ รุ่งเรือง. (2552). การเปรียบเทียบความรู้ ทักษะปฏิบัติ และความคิดสร้างสรรค์วิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบันฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

บุษกร พรหมหล้าวรรณ. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4 Mat. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. (2545). ศิลปศึกษาแนวปฏิรูปฯ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์แม็ค.

สุวรรณา ก้อนทอง. (2547). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะประกอบเสียงดนตรีคลาสสิกที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

อัชราภรณ์ ศรีกาญจน์. (2553). การสร้างชุดกิจกรรมงานศิลปะ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

อารี รังสินันท์. (2532). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

อุษา สบฤกษ์. (2545). การศึกษาพฤติกรรมการสอนนาฏศิลป์ในวิทยาลัยนาฏศิลป. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.

Wallach, M. A., & Kogan, N. (1965). Modes of Thinking in Young Children. New York: Holt, Rinehart and Winston, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย