การสร้างสรรค์ชุดการแสดง “ระบำยันแย่”

ผู้แต่ง

  • ประกิจ พงษ์พิทักษ์ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ยันแย่ชาวชอง, นาฏศิลป์ของชนเผ่า

บทคัดย่อ

ยันแย่เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวชองในจังหวัดจันทบุรีที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนท้องถิ่น มีจุดประสงค์เพื่อการรื่นเริง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา การสืบทอด องค์ประกอบการแสดงและวิธีการแสดงยันแย่ เพื่อนำมาสู่กระบวนการสร้างสรรค์ชุดการแสดงระบำยันแย่ วิธีการศึกษา ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา อัตลักษณ์ของชาวชอง การสืบทอดการแสดง ความผูกพันของยันแย่กับวิถีชีวิตชาวชอง องค์ประกอบของการแสดง ลักษณะการแต่งกายและวิธีการแสดง โดยแบ่งกลุ่มการสัมภาษณ์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการแสดงยันแย่ มีการกำหนดหลักเกณฑ์ของผู้ให้ข้อมูลทั้งสองกลุ่มที่ชัดเจน การสร้างเครื่องมือแบบสัมภาษณ์ พร้อมทั้งมีการตรวจสอบเครื่องมือและข้อมูล ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เพื่อนำข้อมูลความรู้มาสร้างสรรค์ขึ้นเป็นชุดการแสดง ระบำยันแย่ ผลการวิจัย พบว่ายันแย่เป็นการแสดงของชาวชองที่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลคลองพลู อำเภอเขาคิชกุฏ จังหวัดจันทบุรี แต่เดิมใช้สำหรับการร้องกล่อมเด็ก ผู้ร้องจะร้องเป็นภาษาชอง เนื้อหาของบทร้องเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การทำมาหากินของชาวชองที่มีการสอดแทรกข้อคิด ปรัชญา คำสอน ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ ใช้วิธีการร้องแบบด้นสด ๆ ตามประสบการณ์และจินตนาการของตนเอง ในลักษณะเชิงการเกี้ยวพาราสีกันของหนุ่มสาวชาวชอง ในปัจจุบันใช้เครื่องดนตรี มีกลอง กรับและฉิ่ง ลักษณะของท่ารำเป็นการส่ายมือสองแขนขึ้นลงตามจังหวะของการย่ำเท้า ผู้วิจัยได้นำมาสร้างสรรค์ขึ้นเป็นขั้นตอน โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 สืบสานพิธีการแต่งงานกาตั๊ก ช่วงที่ 2 ร่วมร้องรับขับขานตำนานยันแย่ ช่วงที่ 3 สุขใจแท้เลือกคู่หนุ่มสาวชาวชอง เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ ชื่อเพลงระบำยันแย่ ด้านการประดิษฐ์เครื่องแต่งกายได้ศึกษาลักษณะการแต่งกายของชาวชอง นำมาสร้างเป็นเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ การแสดงใช้ ทับไทรเครื่องหมายรวมการชุมนุม กระดิ่งช้างม้า เขาวัว เขาควาย โควเฌอใส่ข้าวเปลือก กลอง และผ้าขาว เพื่อให้การแสดงในช่วงแรกสื่อถึงวิถีชีวิตของชาวชองในอดีต

References

จิ้น ผันผาย. ภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการแสดงยันแย่ด้านการร้อง การรำและดนตรีประกอบการแสดง. สัมภาษณ์, 27 มีนาคม 2558.

เฉิน ผันผาย. อดีตกำนันตำบลคลองพลู ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเขาคิชกุฏ ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลคลองพลู และประธานชาวชองจังหวัดจันทบุรี. สัมภาษณ์, 15 มิถุนายน 2555.

_________. อดีตกำนันตำบลคลองพลู ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเขาคิชกุฏ ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลคลองพลู และประธานชาวชองจังหวัดจันทบุรี. สัมภาษณ์, 27 มีนาคม 2558.

เฉียน ผันผาย. ภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการแสดงยันแย่ด้านการบรรเลงดนตรี. สัมภาษณ์, 27 มีนาคม2558.

ตรี อมาตยกุล. (2500). ประวัติเมืองจันท์และอักขรานุกรมภูมิศาสตร์จังหวัดจันทบุรี. พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเซ้ง อินทรอาญา ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม 25 พฤศจิกายน 2500.

มะลิ บุญคู่. ผู้อำนวยการโรงเรียนคลองพลูวิทยา. สัมภาษณ์, 26 มีนาคม 2558.

สมชาย นาสวน. นายกเทศบาลตำบลคลองพลู. สัมภาษณ์, 26 มีนาคม 2558.

เสียง คล้ายมะลิ. ภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการแสดงยันแย่ด้านการร้องและการรำ. สัมภาษณ์, 27 มีนาคม 2558.

อรวรรณ ใจกล้า. (2539). เมืองจันทบุรีในสมัยสมเด็จพระปิยะมหาราช. ม.ป.ท.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย